SAMA'S Story : ตะลอนเมืองลาว (EP.6) ชมวัดวาในเวียงจันทน์ ลัดเลาะเมืองอุดร ก่อนกลับบ้าน
ສະບາຍດີ! ทุกท่าน เดินทางเข้าสู่เอนทรี่ที่ ๖ แล้ว เอนทรี่นี้จะปิดทริปแล้ว เย่! ในเอนทรี่นี้ผมจะพาทุกท่านไปไหว้พระ ๔ วัดต้องห้าม(พลาด) ในเวียงจันทน์ เป็นสิริมงคลยามเช้าก่อนข้ามไปฝั่งไทย และจะพาทุกท่านไปเลาะเมืองอุดรธานีก่อนพานั่งรถไฟตู้นอนรุ่นใหม่ล่าสุดกลับบ้าน ถ้าทุกท่านพร้อมจะปิดทริปไปด้วยกันแล้วก็ตามมาด้วยกันเลยครับ!!!
หากท่านผู้อ่านท่านใดยังไม่ได้อ่านตอนก่อน สามารถคลิกกลับไปอ่านได้โดยคลิกที่ลิงก์ด้านล่างนี้ได้เพื่อความต่อเนื่อง!
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
DAY-3 วันอาทิตย์ที่ ๑๕ เมษายน ๒๔๖๑ (วันสงกรานต์)
คืนที่สองในเวียงจันทน์ผ่านไปด้วยดี ในช่วงเวลาสี่วันสามคืนตั้งแต่วันที่เริ่มออกเดินทางเป็นช่วงเวลาที่สั้นก็จริง แต่กลับมีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมาย แม้เอนทรี่นี้จะเขียนหลังเดินทางมาสองเดือนแล้วก็ตาม แต่กลับสามารถนำมาถ่ายทอดเรื่องราวออกมาได้ถึง ๖ ตอน พอนึกย้อนไปตั้งแต่วันที่ตัดสินใจจองที่พัก จองตั๋วรถไฟ เริ่มวางแผนเที่ยว หาข้อมูล ทำงานเก็บเงินแล้วก็อมยิ้มไม่ได้ที่ในที่สุดทริปที่วางแผนมากว่า ๓ เดือน ในวันนี้ใกล้จะสำเร็จแล้วนะ :)
เวลาตี ๕ ครึ่ง ไม่รู้เป็นเพราะความตื่นเต้นที่จะได้กลับบ้านหรือเปล่า ทำให้ผมตื่นขึ้นมาก่อนที่นาฬิกาจะปลุกเสียอีก ในห้องนอนรวมที่โฮสเทลแห่งนี้ ณ เวลานี้เงียบสงัดนักมีเพียงเสียงของเครื่องปรับอากาศเท่านั้น ผมจึงตัดสินใจเล่นโทรศัพท์รอเวลาสัก ๖ โมงเช้า ค่อยลุกไปอาบน้ำทำธุระส่วนตัว ในยามเช้าเช่นนี้ห้องน้ำรวมก็เปรียบเสมือนห้องน้ำส่วนตัว เพราะไม่มีใครมาใช้เลยสักคน ได้อาบน้ำอุ่น ๆ ยามเช้าแล้วความง่วงก็หายไปในพริบตา
เมื่อทำธุระส่วนตัวเสร็จเรียบร้อยแล้ว เวลา ๗ โมงเช้าผมจึงเก็บข้าวของสัมภาระทั้งหมด แล้วลงมานั่งรออาหารเช้าของโฮสเทลที่ชั้น ๑ เตรียมเช็คเอาท์ซึ่งตอนนี้ไม่มีใครเลย มีเพียงพนักงานของโฮสเทลเท่านั้น อาหารเช้าของสายลมเย็นโฮสเทล มี ๒ เซตให้เลือกคือ ซีเรียล กับข้าวต้ม และจะเริ่มเสิร์ฟตั้งแต่เวลา ๐๘:๐๐ น. ผมอยากทานอะไรเบา ๆ เลยเลือกเซตซีเรียลไป เพราะหมายใจไว้ว่าจะเก็บที่ว่างในท้องไว้ไปลองข้่าวจี่ปาเต (ขนมปังฝรั่งเศสใส่ตับ และผักคล้ายแซนด์วิช)ก่อนกลับไทย นั่งรออาหารเช้าประมาณครึ่งชั่วโมงเพราะตอนนี้ยังไม่ ๘ โมง แต่ก็ไม่รู้สึกเบื่อเลยเพราะที่โฮสเทลเปิดเพลงสบาย ๆ คลอตลอด อีกทั้งการตกแต่งของร้านที่ให้บรรยากาศสบาย ๆ เผลอแปปเดียวก็ครึ่งชั่วโมงผ่านไปแล้ว เซตซีเรียลของโฮสเทลจะเป็นซีเรียลธัญพืชใส่นมสดถ้วยใหญ่ เสิร์ฟพร้อมกล้วย ๒ ลูก และน้ำดื่ม ถือว่าใช้ได้พออยู่ท้องทำให้มีเรี่ยวแรงไปเดินเที่ยวยามเช้าได้สบาย ๆ...
บรรยากาศยามเช้าตรู่ ที่คาเฟ่ชั้น ๑ ของโฮสเทล
นั่งรอไม่นานนัก อาหารเช้าก็มาเสิร์ฟ
จัดการกับซีเรียลจนเกลี้ยงแล้วก็มีแขกเข้ามาเช็คอิน (เช็คอินตอนเช้าได้ด้วยเหรอ???) เป็นผู้หญิงชาวญี่ปุ่นวัยกลางคน มาเที่ยวคนเดียวและพรุ่งนี้มีแพลนจะไปหลวงพระบางต่อ เป็นการเจอกับนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นในเวียงจันทน์เป็นครั้งแรกเลย ถ้ามีเวลาและเงินเหลือต่ออีกสักนิดผมก็อยากไปหลวงพระบางต่อเหมือนกัน :D หลังจากที่นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นคนนั้นขึ้นห้องพักไปแล้ว ผมจึงไปเช็คเอาท์และแน่นอนว่าได้เงินมัดจำคืนมา ๕๐,๐๐๐ กีบ (มีเงินเที่ยวเพิ่มแล้ว)
เมื่อเดินออกมาจากโฮสเทลแล้วจุดหมายต่อไปคือ สถานีขนส่งตลาดเช้า เพื่อจองตั๋วรถทัวร์ไปอุดรธานี จากโฮสเทลเดินเลี้ยวขวาไปตามถนนสายลม เมื่อถึงแยกถนนขุนบรมให้เดินเลี้ยวซ้ายเข้าถนนขุนบรมแล้วเดินตรงไปจนสุดจะไปบรรจบกับถนนล้านช้างตรงข้ามกับศูนย์การค้าตลาดเช้าพอดี สถานีขนส่งตั้งอยู่ด้านหลังศูนย์การค้าตลาดเช้า(ต้องเดินข้ามถนนไป) บรรยากาศยามเช้าที่สถานีขนส่งดูคึกคักผมจึงรีบหยิบหาสปอร์ตเดินไปที่ขายตั๋วรถช่องอุดรธานีที่มีคุณป้าใจดีกำลังนั่งขายตั๋วอยู่ทันที
"ไปอุดรรอบ ๑๑ โมงครึ่ง ๑ คนครับ" ผมพูดอย่างรีบร้อน
"จะจ่ายเป็นบาทหรือเป็นกีบ" คุณป้าคนขายตั๋วถามอย่างใจเย็น
"จ่ายเป็นบาทครับ" ผมตอบโดยที่ยังไม่ทันคิดด้วยซ้ำ
"๑๐๐ บาท" คุณป้าคนขายตั๋วบอกราคา
"'งั้นจ่ายเป็นกีบแล้วกันครับ แหะแหะแหะ" ผมพูดพลางหัวเราะกลบเกลื่อนเพราะทั้งเนื้อทั้งตัวมีเงินไทยอยู่ประมาณ ๑๒๐ บาทเท่านั้น เก็บเอาไว้ใช้ตอนฉุกเฉินน่าจะดีกว่า
"๒๒,๐๐๐ กีบ ค่าธรรมเนียม ๒,๐๐๐ กีบ เป็น ๒๔,๐๐๐ กีบ " คุณป้าคนขายตั๋วตอบ
ผมจ่ายเงินให้คุณป้าอย่างรู้สึกผิดกลัวแกคิดว่าผมตั้งใจจะแกล้งแก แต่ ๒๔,๐๐๐ กีบนี่ประมาณ ๙๐ กว่าบาทเท่านั้น ใช้เงินกีบคุ้มค่ากว่าจริง ๆ ด้วย :)...
จากถนนขุนบรมเดินตรงมาเรื่อย ๆ จะบรรจบกับถนนล้านช้าง ฝั่งตรงข้ามด้านขวามือคือศูนย์การค้าตลาดเช้า
เดินเลียบถนนคูเวียง ข้างศูนย์การค้าตลาดเช้าไปประมาณ ๑๐๐ เมตรจะเจอสี่แยก
ถึงสี่แยกแล้ว ฝั่งตรงข้ามที่มีป้ายสีน้ำเงินคือ สถานีขนส่งตลาดเช้า
เดินข้ามฝั่งมาจะเจอที่ขายตั๋วรถทัวร์ไปไทยมีไปหนองคาย อุดร และขอนแก่น
ได้ตั๋วรอบ ๑๑ โมงครึ่งมาแล้ว เย่ (คนแรกเสียด้วย)
ขณะนี้เวลาประมาณ ๘ โมงครึ่ง เหลือเวลาอีกราว ๓ ชั่วโมงกว่าจะถึงเวลาขึ้นรถ ผมเลยตั้งใจจะไปเดินเก็บตกสถานที่ท่องเที่ยวในเวียงจันทน์ที่ยังไม่ได้ไป จุดหมายแรกของวันนี้คืออนุเสาวรีย์เจ้าฟ้างุ้ม ปฐมกษัตริย์แห่งล้านช้าง ที่ที่ผมไปเดินหลงทางตอนกลางคืนในวันแรกที่มาเวียงจันทน์ T_T เส้นทางไปก็ไม่ยากเดินตรงไปบนถนนสามแสนไทเรื่อย ๆ จนสิ้นสุดถนนจะเจอสามแยกรูปตัว Y ที่ถนนเศรษฐาธิราช กับถนนสามแสนไทมาบรรจบกันเป็นทางหลวงหมายเลข ๑๓ ไปสนามบินนานาชาติวัตไต อนุเสาวรีย์ตั้งอยู่ฝั่งซ้ายมือ ระยะทางจากสถานีขนส่งตลาดเช้าประมาณ ๒ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินเท้าประมาณครึ่งชั่วโมง...
เส้นทางจากสถานีขนส่งตลาดเช้า ไปอนุเสาวรีย์เจ้าฟ้างุ้ม
รอบ ๆ ตลาดเช้ามีร้านขายของบนทางเท้าเช่นกัน ส่วนมากเป็นพวกรากไม้
เดินมาเจอธนาคารกสิกรไทย สาขานครหลวงเวียงจันทน์อีกครั้ง มีการตกแต่งให้เข้ากับเทศกาลด้วย
อาคารสมัยอาณานิคมที่ถูกทิ้งร้างข้างทาง ถนนสามแสนไท
มองไปฝั่งขวาของถนนสามแสนไท ธนาคารกรุงเทพก็มาถึงกรุงเวียงจันทน์แล้วเช่นกัน
นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกสองคนนั้นน่าจะกำลังเดินหาที่พักอยู่ เดินไวมากแปปเดียวแซงผมไปซะแล้ว
เจอร้านซูชิอีกร้าน สะบายดีซูชิ บนถนนสามแสนไท
ตรงหัวมุมสี่แยกไปวงเวียนน้ำพุ ฝั่งขวามือจะเป็นร้านสะดวกซื้อ M-Point Mart ร้านสะดวกซื้อที่พบเห็นได้ทั่วไปในเวียงจันทน์
มองไปฝั่งตรงข้ามบ้าง ตึกสไตล์ลาวประยุกต์หลังเดิม
เดินเลยแยกน้ำพุมาไม่ไกลฝั่งขวามมือจะเจอพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ แต่ปัจจุบันย้ายที่ไปแล้ว
ดอกจำปาลาว หน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ(เก่า)
มองไปฝั่งตรงข้ามจะเป็นหอวัฒนธรรมแห่งชาติ
แอบเดินเข้าไปสำรวจซอยตรงข้ามหอวัฒนธรรมแห่งชาติ เจอรถไปวังเวียงกำลังจอดเรียงกันอยู่
ไม่รู้ว่าเป็นรถแบบเดียวกับที่ขนส่งสยเหนือหรือเปล่า?
เดินสำรวจไปจนสุดซอยเจอสนามกีฬาเจ้าอนุวงศ์
ออกจากซอยแล้วเดินตรงต่อไปบนถนนสามแสนไท แวะถ่ายตึกข้างทางร้านกาแฟสไตล์ตะวันตก The High Tea
ถึงแล้วอนุเสาวรีย์เจ้าฟ้างุ้ม อยู่ด้านหลังต้นหูกวาง นั่งพักเหนื่อยก่อนสักครู่
เจ้าฟ้างุ้ม ถือได้ว่าเป็น บิดาแห่งชาติลาว เพราะเป็นผู้รวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น และเป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้าง อีกทั้งยังมีบทบาทในการนำพุทธศาสนาแบบลังกาเข้ามาเผยแผ่ในลาว ปัจจุบันพื้นที่โดยรอบอนุเสาวรีย์เจ้าฟ้างุ้มถูกรายล้อมไปด้วยโรงแรมทุกทิศทางถ้ามองจากมุมมองถนนสามแสนไท ฝั่งขวามือของอนุเสาวรีย์อยู่ตรงข้ามกับโรงแรม Crowne Plaza เยื้องกับโรงแรม Mercure ส่วนด้านหลังอยู่ตรงข้ามกับโรงแรม Somerset และฝั่งซ้ายมืออยู่ตรงข้ามกับโรงแรมแม่โขง
วันนี้แม้จะยังอยู่ในช่วงเช้าแต่อากาศก็ร้อนจัด ประกอบกับแบกสัมภาระทั้งหมดไว้บนหลังทำให้เมื่อผมเดินมาถึงอนุเสาวรีย์เจ้าฟ้างุ้มแล้ว จำต้องไปนั่งพักดื่มน้ำที่ม้านั่งใต้ร่มเงาต้นหูกวางสักพัก ก่อนจะเดินไปสำรวจรอบอนุเสาวรีย์ว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง...
ด้านหลังอนุเสาวรีย์เจ้าฟ้างุ้ม
ด้านหน้าอนุเสาวรีย์เป็นลานกว้าง
พระราชประวัติเจ้าฟ้างุ้ม ฉบับภาษาฝรั่งเศส
ด้านหน้าอนุเสาวรีย์เจ้าฟ้างุ้ม
อนุเสาวรีย์เจ้าฟ้างุ้ม มุมข้าง
เดินข้ามถนนเศรษฐาธิราชไปฝั่งโรงแรมแม่ของ(แม่โขง)
อนุเสาวรีย์เจ้าฟ้างุ้ม ถ่ายจากหน้าโรงแรมแม่ของ(แม่โขง)
เมื่อสำรวจ และถ่ายรูปพื้นที่โดยรอบอนุเสาวรีย์เจ้าฟ้างุ้มจนพอใจ ประกอบกับแสงแดดที่ทวีความแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้วจึงคิดว่าเดินไปเที่ยวที่อื่นต่อดีกว่า โดยผมจะใช้ถนนเศรษฐาธิราชที่ขนานกับถนนสามแสนไทเป็นถนนสายหลักสำหรับวันนี้ วันนี้ผมตั้งใจว่าจะเข้าชมวัดสำคัญในเวียงจันทน์ที่ตั้งใจแน่ ๆ มี ๓ วัดคือวัดอินแปงที่หมายตาไว้ตั้งแต่วันแรก วัดองค์ตื้อ และวัดมีไซ(มีชัย) ซึ่งทั้ง ๓ วัดนี้ตั้งอยู่ใกล้กันมาก โดยวัดแรกสำหรับวันนี้คือ วัดอินแปง ซึ่งใช้เวลาเดินจากอนุเสาวรีย์เจ้าฟ้างุ้มไปตามถนนเศรษฐาธิราชประมาณ ๑๐ นาที
บรรยากาศภายในวัดอินแปงวันนี้อุ่นหนาฝาคั่งไปด้วยมวลมหาพุทธศาสนิกชนทุกเพศทุกวัย ที่ต่างหอบหิ้วถังน้ำมาสรงน้ำพระพุทธรูปกันถ้วนหน้า ดูท่าแล้วคนน่าจะเยอะกว่าที่วัดสีสะเกดเมื่อวานเสียอีก อาจจะเป็นเพราะช่วงเช้าอากาศยังไม่ร้อนเท่าช่วงบ่ายด้้วย เป็นที่น่าเสียดายที่เนื่องจากเป็นวันปีใหม่ลาว สิมวัดอินแปงจึงปิดไม่ให้เข้าชมภายใน พื้นที่หน้าสิมถูกพระสงฆ์จับจองที่ให้ประชาชนเข้าไปสนทนาธรรม รับศีล รับพร เนื่องในวันปีใหม่ ถึงสิมจะปิดแต่ผมก็ได้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวลาวในช่วงวันปีใหม่แทน เมื่อสอดส่องจนพอใจแล้วผมจึงมุ่งหน้าสู่วัดองค์ตื้อเป็นวัดต่อไป โดยไม่ลืมไปหาซื้อถังน้ำใส่น้ำอบพร้อมกิ่งไม้ด้านข้างวัดอินแปง เตรียมไปสรงน้ำพระต่อด้วย...
เดินตรงจากโรงแรมแม่ของ บนถนนเศรษฐาธิราช มองไปฝั่งตรงข้ามเจอโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายมิตรภาพ นครหลวงเวียงจันทน์-นครโฮจิมินห์
เลยโรงเรียนมัธยมไปไม่ไกลเจอร้านอาหารญี่ปุ่น(อีกแล้ว) ร้านฟูจิวาระ ธงแดง ๆ ที่เห็นประดับคู่กับธงชาติลาว คือธงพรรคคอมมิวนิสต์ลาว
เลยร้านอาหารญี่ปุ่นไปไม่ไกลจะเจอสี่แยกจุดตัดระหว่างถนนเศรษฐาธิราช กับถนนขุนบรม เดินเลี้ยวซ้ายแล้วข้ามถนนไปก็ถึงวัดอินแปงแล้ว
ข้ามถนนตรงสี่แยกมามีป้ายบอกทางไปวัดชัดเจน
เข้ามาในเขตวัดอินแปงแล้ว
สิมวัดอินแปง ได้รับการบูรณะใหม่โดยฐานของสิมตั้งอยู่บนฐานบัว มีการซ้อนชั้นหลังคา หน้าบันประดับช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ซึ่งเป็นอิทธิพลจากศิลปะรัตนโกสินทร์ แต่ยังคงความเป็นศิลปะล้านช้างคือมีโก่งคิ้วตรงมุข และบนสันหลังคาประดับสัตตะบูริพัน หรือช่อฟ้า
พุทธศาสนิกชนแต่งกายสดใสพร้อมใจกันมาสรงน้ำพระพุทธรูป
ไม่เพียงแต่พระพุทธรูปเท่านั้นแต่รูปปั้นสิงห์ ก็ได้รับการพรมน้ำเช่นกัน
ชาวลาวทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ต่างเข้าวัดกันมาสรงน้ำพระ
วันนี้บรรยากาศดูจะคึกคักกว่าเมื่อวานเสียอีก หรือเพราะเป็นช่วงเช้า
ด้านบนบานประตู หน้าต่างของสิมวัดอินแปงเป็นยอดปราสาทสูง วันนี้สิมปิดทำให้ไม่ได้เข้าไปด้านใน
ด้านหน้าประตูสิมมีพระมาคอยพรมน้ำมนต์ ผูกสายสิญจน์ให้ประชาชนเสริมสิริมงคลเนื่องในวันปีใหม่
ในบริเวณวัดจะมีรางน้ำรูปพญานาคโดยศาสนิกชนจะพรม หรือเทน้ำลงไปในรางน้ำ แล้วน้ำที่ไหลออกมาจากรููที่เจาะไว้ที่รางน้ำจะมีศาสนิกชนเอาขัน หรือภาชนะมารองรับ น่าจะเชื่อว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์
รูปปั้นสิงห์ และสิตธัตถะกุมารที่โดนพรมน้ำจนเปียกชุ่ม
ศาสนิกชนต่างหอบหิ้วถังน้ำใส่น้ำอบมาพรมน้ำพระ เมื่อเสร็จจากวัดหนึ่งก็ไปทำแบบเดิมต่อในอีกวัดหนึ่งเป็นเรื่องปกติ
ถังหูหิ้วใส่น้ำอบที่ซื้อมาค่อนข้างใหญ่มาก เลยคิดว่าถ้าเวลาเหลืออาจจะไปวัดเชียงยืนเพิ่มอีกเป็น ๔ วัดจะได้ใช้ถังที่ซื้อมาได้อย่างคุ้มค่า การเดินทางจากวัดอินแปงไปวัดองค์ตื้อนั้นไม่ยาก เพียงเดินออกไปหน้าประตูวัดแล้วเดินตรงบนถนนเศรษฐาธิราชไปเรื่อย ๆ ประมาณ ๑๐๐ เมตร ก็จะเจอวัดองค์ตื้ออยู่ทางขวามือแล้ว สภาพการจราจรบนถนนเศรษฐาธิราชเวลานี้จอแจมากเพราะเต็มไปด้วยรถของศาสนิกชนทั้งหลายที่ตั้งใจมาสรงน้ำพระเนื่องในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ บนทางเท้าเองก็เช่นกันทุกคนล้วนมีจุดมุ่งหมายเดียวกันทั้งสิ้น
เมื่อเดินเข้าไปภายในวัดองค์ตื้อก็เป็นดังที่คาดไว้คือคนแน่น แต่ไม่ว่าอย่างไรเวียงจันทน์ก็ยังคงเสน่ห์ในแบบของเวียงจันทน์คือไม่ว่าคนจะเยอะแค่ไหนแต่บรรยากาศโดยรอบกลับไม่ทำให้จิตวุ่นวาย ทุกอย่างดำเนินไปเรื่อย ๆ ดำเนินไปตามธรรมชาติ เป็นความสงบที่บรรยายไม่ถูก...
วัดองค์ตื้อเป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ภายในสิมประดิษฐานพระเจ้าองค์ตื้อ ซึ่งมีความหมายว่าพระพุทธรูปองค์ใหญ่ หล่อด้วยสำริด มีลักษณะเด่นคือพระพักตร์ใหญ่ พระเนตรหรี่ลงต่ำ พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์กว้าง พระหัตถ์ค่อนข้างใหญ่ พระวรกายสูง เป็นศิลปะพระพุทธรูปแบบล้านช้าง ในวันนี้สิมวัดองค์ตื้อเปิดแต่เนื่องจากมีศาสนิกชนไม่ขาดสาย ประกอบกับใส่รองเท้าผ้าใบ และแบกสัมภาระหนัก ทำให้ตัดสินใจไม่เข้าไป ไว้โอกาสหน้าจะมาแก้ตัวใหม่...
เมื่อเดินเข้าไปภายในวัดองค์ตื้อก็เป็นดังที่คาดไว้คือคนแน่น แต่ไม่ว่าอย่างไรเวียงจันทน์ก็ยังคงเสน่ห์ในแบบของเวียงจันทน์คือไม่ว่าคนจะเยอะแค่ไหนแต่บรรยากาศโดยรอบกลับไม่ทำให้จิตวุ่นวาย ทุกอย่างดำเนินไปเรื่อย ๆ ดำเนินไปตามธรรมชาติ เป็นความสงบที่บรรยายไม่ถูก...
วัดองค์ตื้อเป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ภายในสิมประดิษฐานพระเจ้าองค์ตื้อ ซึ่งมีความหมายว่าพระพุทธรูปองค์ใหญ่ หล่อด้วยสำริด มีลักษณะเด่นคือพระพักตร์ใหญ่ พระเนตรหรี่ลงต่ำ พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์กว้าง พระหัตถ์ค่อนข้างใหญ่ พระวรกายสูง เป็นศิลปะพระพุทธรูปแบบล้านช้าง ในวันนี้สิมวัดองค์ตื้อเปิดแต่เนื่องจากมีศาสนิกชนไม่ขาดสาย ประกอบกับใส่รองเท้าผ้าใบ และแบกสัมภาระหนัก ทำให้ตัดสินใจไม่เข้าไป ไว้โอกาสหน้าจะมาแก้ตัวใหม่...
ศาสนิกชนทั้งหลายที่สรงน้ำวัดอินแปงเสร็จแล้ว คงเดินไปวัดองค์ตื้อต่อเหมือนผมแน่ ๆ
เดินตรงมา ๑๐๐ เมตรข้ามทางม้าลายมาปุ๊บก็ถึงแล้ว ถ่ายจากฝั่งวัดองค์ตื้อหันไปทางวัดอินแปง
ซุ้มประตูทางเข้าวัดองค์ตื้อมหาวิหาร
พุทธศาสนิกชนกำลังพรมน้ำพระ วัดองค์ตื้อ
ที่วัดองค์ตื้อก็มีรางน้ำรูปพญานาคเหมือนกันจะเห็นว่าเทน้ำเข้าไปจากส่วนหาง
แล้วน้ำจะไหลออกมาทางส่วนหัว โดยมีประชาชนนำภาชนะใส่ไปดื่ม หรือบูชา บางคนก็เอาน้ำมาลูบหัวเสริมมงคล
สิมวัดองค์ตื้อที่ได้รับการบูรณะใหม่ตั้งอยู่บนฐานบัว มีเสาพาไลกลมขนาดใหญ่ ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นทรงปราสาทยอด หน้าบันประดับด้วยลายก้านขด และดอกกาละกับ มีการแบ่งกรอบหน้าบันเป็นเอกลักษณ์ของช่างเวียงจันทน์ ด้านล่างเป็นโก่งคิ้วแบบล้านช้าง ป้านลมอ่อนโค้งแผ่กว้าง มีช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์คาดว่าได้รับอิทธิพลจากศิลปะรัตนโกสินทร์
มีทำบุญพระประจำวันเกิดด้วย
เดินตรงมาเรื่อย ๆ มีป้ายบอกทางตลอดไม่หลงแน่นอน
ข้ามทางม้าลายไปก็ถึงแล้ว วัดมีไซ
สิมวัดมีไซ กับดอกจำปาลาว
ซุ้มประตูทางเข้าวัดมีไซ
เดินเข้ามาภายในวัดมีไซแล้ว ผู้คนไม่พลุกพล่านเหมือน ๒ วัดที่แล้ว
มองไปทางฝั่งกุฏิพระ
หันไปถ่ายทางซุ้มประตูทางเข้าวัดบ้าง
สิมวัดมีไซ มีเสาพาไลล้อมรอบคล้ายสิมวัดสีสะเกด แต่วัดมีไซตัวสิมจะเตี้ยกว่า
บานหน้าต่างประดับซุ้มทรงยอดปราสาท
พญานาคทั้ง ๒ ก็ถูกสรงน้ำด้วย
ผู้คนมากองกันด้านหน้าสิม เพราะเป็นจุดเดียวที่มีพระพุทธรูปให้สรงน้ำ
มองไปทางประตูทางเข้าอีกฝั่ง อาคารฝั่งซ้ายหน้าจะเป็นหอธรรม
ระหว่างทางเดินผ่านโรงแรมที่ตกแต่งสวยแปลกตาดี
ถนนเล็ก ๆ ที่เดินเข้ามาใกล้ถึงสามแยกแล้ว จะสังเกตเห็นศาลเจ้าด้านหน้า
เดินมาเจอศาลเจ้าแล้วให้เดินเลี้ยวซ้ายไป ๕๐ เมตรก็จะถึงวัดเชียงยืนแล้ว
ถึงแล้ววัดเชียงยืน หันหน้าเข้าแม่น้ำโขงพอดีเป๊ะ
สิมวัดเชียงยืน โดดเด่นตรงโหง่ที่อ่อนช้อยแบบล้านช้าง และสัตตะบูริพัน บนสันหลังคาที่จำลองเขาพระสุเมรุ และเขาบริวารทั้งเจ็ด
พุทธศาสนิกชนที่นี่มีไม่มาก แต่มากันเรื่อย ๆ ไม่ขาดสาย
ชาวลาวทุกเพศ ทุกวัย ต่างมาสรงน้ำพระเสริมมงคลรับปีใหม่
ทุกอย่างดำเนินไปอย่างสงบ
หน้าบันของสิมวัดเชียงยืนสลักรูปพุทธประวัติ
เดินไปทางหน้าสิมมีพระพุทธรูปปางนาคปรก และศาสนิกชนที่กำลังพรมน้ำอยู่
มองเข้าไปในสิมที่วันนี้ปิด แต่ที่หน้าสิมมีพระสงฆ์มาสนทนาธรรมกับชาวบ้าน
หอระฆังวัดเชียงยืน
ซุ้มหน้าต่างทรงยอดปราสาทของสิมวัดเชียงยืน แต่ละบานมีประติมากรรมทางพุทธศาสนาอยู่ด้วย
ศาลหลักเมืองอุดรธานี สร้างขึ้นในปีพ.ศ.๒๕๐๒ โดยใช้ศิลปะแบบอีสาน(ล้านช้าง) ผสมกับไทยประยุกต์ จะสังเกตเห็นว่าหลังคามีความโค้ง และมีโก่งคิ้วซึ่งเป็นศิลปะอีสาน(ล้านช้าง)
ภายในศาลหลักเมืองห้ามสรงน้ำ
สีหน้าของชาวเมืองอุดรฯ ที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม เมื่อได้มาสักการะศาลหลักเมือง
ด้านข้างศาลหลักเมืองมีท้าวเวสสุวัณ
ตอนเช้าสรงน้ำพระแบบลาวไปแล้ว ตอนบ่ายมาสรงน้ำพระแบบบ้านเรากันบ้าง
ไหว้ศาลหลักเมืองก่อนกลับบ้านแล้ว จึงเดินมุ่งหน้าสู่หนองประจักษ์บนถนนอธิปบดี มีทางจักรยานเล็ก ๆ ด้วย
เดินตรงไปบนถนนอธิปบดีผ่านสวนศรีเมือง
เยื้องกับสวนศรีเมือง เป็นศาลเจ้าเมืองอุดรธานี
มีรถรางชมเมืองบริการฟรีด้วย แต่วันนี้ยังไม่เจอสักคัน
เดินตรงไปบนถนนอธิปบดีประมาณ ๕๐๐ เมตรจากศาลหลักเมืองก็ถึงแล้ว หนองประจักษ์
ซึ่งตอนนี้เปียกชุ่มไปด้วยน้ำ จากคนที่เล่นน้ำสงกรานต์
เป็ดน้อยวันนี้ท่าจะเมื่อย นอนอยู่กลางน้ำเลย ๕๕๕
มองไปอีกด้านมีไหบ้านเชียงยักษ์ด้วย
มองไปด้านหน้าสวนสาธารณะหนองประจักษ์ บรรยากาศการเล่นน้ำคึกคักมาก ร้านค้าก็มากมายเช่นกัน
แผนผังสวนสาธารณะหนองประจักษ์ กว้างขวางใช่เล่นเลย
ไหบ้านเชียง มรดกโลกถูกขุดค้นที่บ้านเชียง อ.หนองหาน จังหวัดอุดรธานี เป็นตัวบ่งบอกว่าพื้นที่แห่งนี้มีอารยธรรมมายาวนานกว่าพันปีมาแล้ว
เดินข้ามสะพานไปบนเกาะบ้าง
เจ้าเป็ดน้อยยังคงนอนกลางวันอยู่
บรรยากาศร่มรื่นดีแท้ คลายความร้อนจากแดดได้โข
นกพิราบบินมาได้จังหวะพอดี
ภายในสวนมีการตกแต่งด้วยสีสันสดใส
เดินมาตรงดงต้นปาล์มบ้าง ตรงนี้เงียบดี
มีสะพานแขวนด้วย เมฆฝนคืบคลานมาอีกแล้ว
รีบเดินข้ามสะพานไปฝั่งโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานีดีกว่า ฝนท่าจะตกในไม่ช้่า
มืดขึ้นเรื่อย ๆ
ประตูหน้าสวนสาธารณะหนองประจักษ์ ฝั่งโรงพยาบาล
แอบถ่ายหอพักข้างโรงพยาบาล
หอพักของโรงพยาบาลเรียงกันอาร์ตดี
ถึงสามแยกแล้วเดินเลี้ยวซ้ายโลด
เดินเลียบกำแพงวัดโพธิสมภรณ์ ฝั่งตรงข้ามเป็นร้านวีทีแหนมเนือง
สถานีรถไฟอุดรธานี เห็นฟ้าใส ๆ แบบนี้ แต่พี่แกกำลังคำราม ฮึม ๆ อยู่นะครับ
หัวรถจักรขนอุปกรณ์สร้างทาง
ผู้โดยสารที่ทยอยมานั่งรอรถไฟกันเรื่อย ๆ จนไม่มีม้านั่งใดที่ยังไม่ถูกจับจอง
รถไฟเสริมพิเศษช่วงสงกรานต์ขบวนที่ ๙๓๖ (อุดรธานี-กรุงเทพ) กำลังกลับหัวเตรียมไปกรุงเทพเวลา ๒ ทุ่ม ๔๐ นาที
เดินไปถ่ายรูปหน้าสถานีรถไฟรอเวลาดีกว่า
พระอาทิตย์ใกล้จะลับขอบฟ้า
๑๘:๐๗น. รถด่วนดีเซลรางขบวนที่ ๗๕ (กรุงเทพ-หนองคาย) เพิ่งมาถึงอุดรธานี วันนี้ขบวน ๗๘ (หนองคาย-กรุงเทพ) เสียเวลาแน่ ๆ
มองไปชานชาลาที่ ๒ รถเสริมพิเศษขบวนที่ ๙๓๖ (อุดรธานี-กรุงเทพ) จอดรอผู้โดยสารอยู่
ม้านั่งถูกจับจองเต็มจนผู้โดยสารเริ่มมานั่งรอบนพื้นสถานี
คลิปรถเร็วขบวนที่ ๑๓๔ (หนองคาย-กรุงเทพ) กำลังเทียบสถานีรถไฟอุดรธานี
ร้อยละ ๙๕ เป็นตู้นั่งชั้น ๓ พ่วงตู้นอนชั้น ๒ ปรับอากาศเพียง ๑ ตู้
ผู้โดยสารกำลังเดินข้ามไปขึ้นรถไฟเสริมพิเศษช่วงสงกรานต์ขบวนที่ ๙๓๖ (อุดรธานี-กรุงเทพ) ซึ่งจะออกในเวลา ๒๐:๔๐ น.
เดินขึ้นมาบนรถไฟ มองหาที่นั่งตัวเอง
เจอแล้ว เอาของวางแปป เดินไปหาอะไรกินตู้เสบียงก่อน
การเดินข้ามตู้รถไฟเป็นเรื่องง่ายมาก เพราะทางเดินเสมอกัน เพียงกดปุ่มวงกลมประตูก็จะเปิด
มาถึงตู้เสบียงแล้ว คนน้อยกว่าที่คิด สงสัยดึกแล้ว
ราคามหาโหด
สั่งเซตถูกที่สุดมา ๑๔๐ บาท ไร้รสชาติมาก อร่อยสุดคือน้ำส้ม T_T
แวะมาถ่ายห้องน้ำ ดูดี และสะอาดมาก แถมโถส้วมเป็นแบบสุญญากาศเหมือนเครื่องบิน
แปรงฟัน ล้างหน้าแล้วก็ได้เวลาพักผ่อน ฝันดีครับ...
แต่ละตู้จะมีหน้าจอบอกว่าตอนนี้รถไฟอยู่ที่ไหน วิ่งด้วยความเร็วเท่าไหร่ และจะถึงสถานีปลายทางประมาณกี่โมง เรียกได้ว่าอัปเดตแบบ Real-time เลย
เอาสัมภาระไปเก็บไว้ด้านบนก่อน
แอบถ่ายตู้อื่น
วางขวดน้ำจากลาวเท่ ๆ หน่อย
เวลาตี ๕ จึงบอกพนักงานให้ช่วยเปลี่ยนที่นอนเป็นที่นั่งให้ เพราะอยากนั่งชมวิว
ที่นั่งมีช่องหว่างระหว่างขา กว้างพอจะเหยียดขาได้สบาย กรณีที่ไม่มีผู้โดยสารอีกคนนั่งอยู่ตรงข้าม
เดินไปซื้อชาร้อนที่ตู้เสบียงมาดื่มรับอรุณเสียหน่อย
ถึงบางซื่อแล้ว
ที่สถานีบางซื่อผู้โดยสารหายไปกว่าร้อยละ ๘๐
สถานีกลางบางซื่อ สถานีรถไฟแห่งใหม่ที่จะมาเป็นศูนย์กลางของระบบรางในไทยแทนสถานีกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) ขณะนี้ก่อสร้างคืบหน้าไปมากแล้ว
ณ ตอนนี้เหมือนรถไฟส่วนตัว
เข้าย่านสถานีกรุงเทพฯ (หัวลำโพงแล้ว)
ถึงแล้วบางกอก แดนศิวิไลซ์ เมืองที่ใครต่อใครต้องมา ^^
อาโน! แวร์อีสพลัสโฟร์มไนน์แอนด์ทีควอเต้อ?
ขอโทษครับชานชาลาที่เก้าเศษสามส่วนสี่ไปทางไหน?
ขอบใจเด้อ อีสานมรรคาที่ซ่วยมาส่งข่อยโดยปลอดภัย
เดินออกมาหน้าหัวลำโพง
เดินสังเกตความเป็นไปรอบตัว และเนียนกับผู้คนไปสรงน้ำพระตามประเพณีลาวบ้างพอให้ซึมซับก็ได้เวลาไปวัดต่อไปคือ วัดมีไซ(วัดมีชัย) การเดินทางก็ยังคงง่ายเช่นเดิมครับ คือออกจากวัดองค์ตื้อแล้วเดินตรงไปบนถนนเศรษฐาธิราชไปเรื่อย ๆ ประมาณ ๑๐๐ เมตรก็จะเจอวัดมีไซ(วัดมีชัย) ครับ มีป้ายบอกตลอดทางไม่ต้องห่วง เคยอ่านเจอว่าเมื่อก่อนทั้ง ๓ วัดนี้รวมวัดหายโศกซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามวัดมีไซเคยอยู่ติดกันมาก่อน แต่พอมีการวางผังเมืองและมีคนมาอยู่อาศัยมากขึ้นทำให้ถูกแยกจากกันและเหลืออาณาบริเวณวัดไม่มากนัก
วัดมีไซ หรือวัดมีชัย สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชในปีพ.ศ. ๒๑๑๒ หลังล้านช้างมีชัยชนะเหนือพม่า
ภายในวัดมีไซ พุทธศาสนิกชนบางตากว่าที่วัดอินแปง และวัดองค์ตื้อมาก อาจเพราะมีบริเวณให้สรงน้ำพระจำกัดอยู่เฉพาะบริเวณด้านหน้าสิมเท่านั้น ซึ่งบริเวณด้านหน้าสิมนี้มีทั้งบริเวณที่ให้พระมาสนทนาธรรมกับชาวบ้าน พื้นที่ทำบุญสนับสนุนวัดซึึ่งสามารถทำบุญเป็นเงินบาทไทยได้ รวมไปถึงพื้นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปให้ประชาชนมาสรงน้ำ...
วัดอินแปง วัดองค์ตื้อ และวัดมีไซ ทั้ง ๓ วัดตั้งเรียงกันบนถนนเศรษฐาธิราช เรียกได้ว่าแทบจะอยู่ติดกันเลย
ข้ามทางม้าลายไปก็ถึงแล้ว วัดมีไซ
สิมวัดมีไซ กับดอกจำปาลาว
ซุ้มประตูทางเข้าวัดมีไซ
เดินเข้ามาภายในวัดมีไซแล้ว ผู้คนไม่พลุกพล่านเหมือน ๒ วัดที่แล้ว
มองไปทางฝั่งกุฏิพระ
หันไปถ่ายทางซุ้มประตูทางเข้าวัดบ้าง
สิมวัดมีไซ มีเสาพาไลล้อมรอบคล้ายสิมวัดสีสะเกด แต่วัดมีไซตัวสิมจะเตี้ยกว่า
บานหน้าต่างประดับซุ้มทรงยอดปราสาท
พญานาคทั้ง ๒ ก็ถูกสรงน้ำด้วย
ผู้คนมากองกันด้านหน้าสิม เพราะเป็นจุดเดียวที่มีพระพุทธรูปให้สรงน้ำ
มองไปทางประตูทางเข้าอีกฝั่ง อาคารฝั่งซ้ายหน้าจะเป็นหอธรรม
มีร้านขายของประปราย ไม่คึกคักเท่า ๒ วัดแรก
ผมใช้เวลาที่วัดมีไซ ไม่นานนักเพราะมีเวลามีจำกัดจึงเดินออกไปทะลุประตูอีกฝั่งแล้วเดินตามป้ายบอกทางเลี้ยวขวาเข้าถนนเล็ก ๆ ไปทางริมแม่น้ำโขงเพื่อไปวัดสุดท้ายของทริปนี้ วัดเชียงยืนทะนาราม เมื่อเดินเข้าในบริเวณวัดเชียงยืนจะพบบรรยากาศที่เหมือนกับทุกวัดในเวียงจันทน์ช่วงสงกรานต์คือ มีพุทธศาสนิกชนทั้งเด็ก ไปจนถึงวัยชรามาสรงน้ำพระ และไปสนทนาธรรมกับพระสงฆ์ รับวัตถุมงคล และทำบุญเพื่อเสริมมงคลในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ สิมวัดเชียงยืนตกแต่งเรียบง่ายไม่มีลวดลาย หรือสีสันมากเท่าสิมทั้ง ๓ วัดก่อน แต่ตรงหน้าต่างแต่ละบานของสิมวัดเชียงยืนแห่งนี้มีประติมากรรมแกะสลักเล่าเรื่องชาดกที่อ่อนช้อยงดงามเป็นเอกลักษณ์...
ถนนเล็ก ๆ ที่เดินเข้ามาใกล้ถึงสามแยกแล้ว จะสังเกตเห็นศาลเจ้าด้านหน้า
เดินมาเจอศาลเจ้าแล้วให้เดินเลี้ยวซ้ายไป ๕๐ เมตรก็จะถึงวัดเชียงยืนแล้ว
ถึงแล้ววัดเชียงยืน หันหน้าเข้าแม่น้ำโขงพอดีเป๊ะ
สิมวัดเชียงยืน โดดเด่นตรงโหง่ที่อ่อนช้อยแบบล้านช้าง และสัตตะบูริพัน บนสันหลังคาที่จำลองเขาพระสุเมรุ และเขาบริวารทั้งเจ็ด
พุทธศาสนิกชนที่นี่มีไม่มาก แต่มากันเรื่อย ๆ ไม่ขาดสาย
ชาวลาวทุกเพศ ทุกวัย ต่างมาสรงน้ำพระเสริมมงคลรับปีใหม่
ทุกอย่างดำเนินไปอย่างสงบ
หน้าบันของสิมวัดเชียงยืนสลักรูปพุทธประวัติ
เดินไปทางหน้าสิมมีพระพุทธรูปปางนาคปรก และศาสนิกชนที่กำลังพรมน้ำอยู่
มองเข้าไปในสิมที่วันนี้ปิด แต่ที่หน้าสิมมีพระสงฆ์มาสนทนาธรรมกับชาวบ้าน
หอระฆังวัดเชียงยืน
ซุ้มหน้าต่างทรงยอดปราสาทของสิมวัดเชียงยืน แต่ละบานมีประติมากรรมทางพุทธศาสนาอยู่ด้วย
ได้เวลาออกจากวัดเชียงยืน ไปขึ้นรถกลับไทย
วัดเชียงยืนแบบ Time-Lapse
ร้านอาหารขอบใจเด้อวันนี้ไม่มีการเล่นน้ำสงกรานต์แล้วแฮะ
จากร้านขอบใจเด้อเดินเลี้ยวซ้ายเข้าไปย่านน้ำพุอีกครั้ง แม้จะมาที่นี่เป็นครั้งสามได้แล้วแต่ก็เพิ่งสังเกตเห็นว่ามีการแสดงภาพของย่านน้ำพุในอดีตด้วย แสดงว่ามีความเป็นมายาวนานพอสมควร
เดินเข้ามาทักทายโรงแรมมะลิน้ำพุอีกครั้ง ก่อนกลับไทย
เดินมาโผล่หน้าศูนย์การค้าตลาดเช้าอีกครั้ง ก่อนกลับไทยแวะเข้าไปสำรวจภายในเสียหน่อย
พูดถึงสงกรานต์ก็ต้องเสื้อลายดอกสินะ ภายในศูนย์การค้าตลาดเช้าส่วนใหญ่เป็นร้านขายเสื้อผ้า
รถโดยสารระหว่างประเทศของไทย ที่จะพาทุกคนไปอุดร
ที่นั่งนุ่ม และกว้างขวางใช้ได้อยู่
มีจอบอกด้วยว่าอนนี้รถวิ่งด้วยความเร็วเท่าใด
สภาพที่นั่ง ยังไม่มีผู้โดยสารขึ้นมาสักคน T_T
นั่งรถมาประมาณครึ่งชั่วโมงก็ถึงตม.ลาวแล้ว
ขณะที่กำลังข้ามสะพานมิตรภาพฯ บ้ายบายเมืองลาว ไว้จะกลับมาใหม่เด้อ ภาพนี้ถ่ายติดทั้ง ๒ ประเทศเลย ฝั่งซ้ายเป็นประเทศลาว ฝั่งขวาเป็นประเทศไทย มีแน่น้ำโขงกั้นกลางเป็นพรมแดนธรรมชาติอยู่
ถึงตม.ฝั่งไทย ถ้าถือพาสปอร์ตไทยแสกนแปปเดียวก็ผ่านออกมาได้แล้ว รวดเร็วมาก พาสปอร์ตไม่โล่งแล้วนะ :)
บรยากาศสถานีขนส่งอุดรธานี แห่งที่ ๑
เดินออกมาด้านหน้าสถานีขนส่ง แล้วเลี้ยวขวา
เดินไปแปปเดียวก็เห็นเซ็นทรัลอยู่ฝั่งตรงข้ามแล้ว ท้องฟ้าเริ่มขมุกขมัว
เดินเข้าไปในเซ็นทรัลร้านค้าเยอะไม่แพ้ในกรุงเทพเลย After You ก็กำลังจะมาเปิด
ไม่รู้จะกินอะไรดี จริง ๆ อยากกินอาหารอีสานมาก แต่สุดท้ายมากินข้าวผัดกระเพรา แมคโดนัลด์ (ข้าวแฉะมาก T____T)
เดินออกมาจากเซ็นทรัล อ้ะ แดดออกแล้ว เมื่อกี้ฟ้ายังมืดอยู่เลย
ที่อุดรฯ ยังคงเล่นสงกรานต์กันอย่างครื้นเครง
พื้นถนนเปียกชุ่มไปด้วยน้ำ
เจอป้ายบอกทางแล้ว ไม่หลงแน่
รถคันนี้มาเป็นถังน้ำแข็งเลย การเล่นน้ำที่นี่โหดใช่เล่น
เดินไปเรื่อย ๆ ท่ามกลางแดดมองไปฝั่งตรงข้ามเจอร้าน ปิ้งไก่น้อย (ไก่ปิ้งไม้จิ๋ว)
คอนโดสูงทันสมัยกลางเมืองอุดรฯ
หันไปมองด้านข้างคอนโดมีร้านอาหารอีสานอยู่ข้าง ๆ
ตึกแถวตึกนี้สีสันประตูสดใสดี
หันไปมองอีกฝั่งถนน ดอกคูนเป็นสัญลักษณ์ของเดือนเมษายนสินะ กำลังบานเต็มที่เลย
ป้ายถนนเป็นสัญลักษณ์ไหบ้านเชียงแฮะ เดินเลี้ยวซ้ายจะไปถนนอุดรดุษฎีจะไปโผล่ศาลหลักเมือง เลยเลือกไปศาลหลักเมืองก่อน
เข้ามาถนนอุดรดุษฎีแล้วเดินข้ามฝั่ง เลี้ยวขวาเข้าถนนเล็ก ๆ ที่ชื่อว่าถนนอธิปบดี
คลองที่นี่เหมือนในกรุงเทพฯ เลยแฮะ
ฝั่งซ้ายมือเป็นที่ทำการ เทศบาลนครอุดรธานี
มองไปฝั่งตรงข้ามเป็นศาลจังหวัดอุดรธานี ให้เดินตรงไปเรื่อย ๆ ข้ามถนนตรงสี่แยกข้างหน้าแล้วเลี้ยวซ้ายประมาณ ๕๐ ก้าวก็จะถึงศาลหลักเมืองแล้ว
เดินออกจากวัดเชียงยืนตรงไปประตูด้านหลังวัดด้วยความรู้สึกอิ่มเอิบใจ เพราะได้เนียนไปมีส่วนร่วมในประเพณีปีใหม่กับชาวลาว ทำให้ได้สัมผัสกับวิถีชีวิต และความเชื่อของคนพื้นที่มากขึ้น ได้เห็นหลายสิ่งที่ไม่เคยเห็นด้วยตามาก่อน ระหว่างทางได้เจอนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกทักทายผู้คนที่เดินผ่านไปผ่านมาด้วยรอยยิ้มอย่างเป็นมิตรว่า "สะบายดีปีใหม่" เป็นภาพที่นึกถึงที่ไรก็อดยิ้มไม่ได้ทุกครั้ง ขณะที่กำลังเดินด้วยความสดชื่นนั้นเผลอไปเดียวก็มาโผล่ตรงหน้าร้านอาหารขอบใจเด้อบนถนนเศรษฐาธิราชอีกครั้ง วันนี้บรรยากาศกลับมาสงบอีกครั้งเพราะไม่มีการเล่นน้ำสงกรานต์ สงสัยในเวียงจันทน์จะเล่นน้ำกันมากที่สุดในวันที่ ๑๔ เมษายนล่ะมั้ง
ด้วยความคิดถึงวันแรกที่มาถึงเวียงจันทน์ จึงเดินเข้าไประลึกอดีตที่ย่านน้ำพุแม้จะเป็นย่านที่มาบ่อยที่สุดในเวียงจันทน์แต่ก็ยังมีอะไรหลายอย่างที่เพิ่งมาสังเกตเห็นได้ในสถานที่เดิม ๆ แห่งนี้คือ มีการจัดแสดงภาพย่านน้ำพุในอดีตด้วย ดูจากสิ่งก่อสร้างในภาพแล้ววงเวียนน้ำพุน่าจะถูกสร้างขึ้นในช่วงสมัยอาณานิคม เมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบันแล้วถือว่าเปลี่ยนแปลงไปมากเลยทีเดียว ทำให้คิดไปถึงว่าถ้าได้มาเวียงจันทน์อีกครั้ง "เวียงจันทน์จะยังคงเป็นเวียงจันทน์แบบที่ผมรู้จักในตอนนี้หรือเปล่า? " ปล่อยให้ความคิดดำเนินไปอย่างนั้นแต่สองเท้าก็ยังก้าวต่อไปจนไปหยุดหน้าโรงแรมมะลิน้ำพุ ที่พักที่สร้างความประทับใจในทริปนี้มาตลอด ๑ คืนแรก แล้วจึงเดินไปตามถนนสามแสนไทก่อนที่จะไปโผล่หน้าศูนย์การค้าตลาดเช้ามอลล์
ศูนย์การค้าตลาดเช้ามอลล์เป็นศูนย์การค้าแห่งแรกในเวียงจันทน์ที่มีบันไดเลื่อน ภายในศูนย์การค้าปัจจุบันมีทั้งร้านจากต่างชาติที่มาเปิดสาขาเช่น Miniso รวมไปถึงร้านของลาวเอง สินค้าค่อนข้างหลากหลายกว่าที่ศูนย์การค้าเวียงจันทน์เซ็นเตอร์เพราะมีทั้งเสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้า ธนาคาร โทรศัพท์มือถือ และร้านอาหาร แต่วันนี้บรรยากาศค่อนข้างเงียบเหงาร้านส่วนใหญ่ปิดเพราะเป็นวันหยุดสงกรานต์(ปีใหม่) ของที่ลาว ผมใช้เวลาเดินที่นี่ไม่นานนักนาฬิกาบอกเวลาว่าเกือบ ๑๑ โมงแล้ว จะไปหาข้าวจี่ปาเตทานตามที่หมายใจไว้ก็คงไม่ทัน เพราะรถทัวร์ออกเวลา ๑๑ โมงครึ่ง ทำให้ผมต้องรีบเดินทะลุไปออกประตูหลังศูนย์การค้า แล้วเดินข้ามถนนไปนั่งรอรถทัวร์ซึ่งตอนนี้จอดเทียบท่าแล้ว...
จากร้านขอบใจเด้อเดินเลี้ยวซ้ายเข้าไปย่านน้ำพุอีกครั้ง แม้จะมาที่นี่เป็นครั้งสามได้แล้วแต่ก็เพิ่งสังเกตเห็นว่ามีการแสดงภาพของย่านน้ำพุในอดีตด้วย แสดงว่ามีความเป็นมายาวนานพอสมควร
เดินเข้ามาทักทายโรงแรมมะลิน้ำพุอีกครั้ง ก่อนกลับไทย
เดินมาโผล่หน้าศูนย์การค้าตลาดเช้าอีกครั้ง ก่อนกลับไทยแวะเข้าไปสำรวจภายในเสียหน่อย
พูดถึงสงกรานต์ก็ต้องเสื้อลายดอกสินะ ภายในศูนย์การค้าตลาดเช้าส่วนใหญ่เป็นร้านขายเสื้อผ้า
เดินทะลุออกประตูไปด้านหลังศูนย์การค้า จะเจอย่านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าแหล่งใหญ่
รอบนี้ได้โดยสารไปกับรถทัวร์ของไทย เป็นรถของบขส.ที่สภาพใหม่เลยทีเดียว ในตั๋วมีเลขที่นั่งอยู่ให้นั่งตามเลขที่นั่งบนตั๋วนะครับ รอบนี้โชคดีได้นั่งริมหน้าต่างเหมือนขาไปเลย: ) ตอนแรกสภาพโล่งมากมีเพียงผม กับพนักงานบนรถ แต่พอก่อนเวลารถออก ๕ นาทีผู้โดยสารก็แห่กันมาเกือบเต็มคันรถ ผู้โดยสารมีทั้งชาวไทย ชาวลาว และนักท่องเที่ยวจากชาติอื่น ๆ แต่ส่วนใหญ่เป็นคนไทย และคนลาว ก่อนที่รถจะออกพนักงานบนรถจะคอยมาถามว่ามีใครยังไม่ได้ใบขาออกจากลาวบ้าง สำหรับใครที่ขาไปโดยสารมากับรถของบขส.มาเวียงจันทน์ทั้งจากขอนแก่น อุดร หรือหนองคาย ตอนขาไปพนักงานจะแจกทั้งใบขาเข้า และขาออกประเทศลาว ถ้าใครยังเก็บเอาไว้ก็ไม่ต้องขอใหม่ครับ
เวลา ๑๑ โมงครึ่ง รถทัวร์คันใหญ่ค่อย ๆ เคลื่อนตัวออกจากสถานีขนส่งตลาดเช้า มุ่งไปทางสวนสาธารณะเจ้าอนุวงศ์แล้วขับเลียบแม่น้ำโขงไปเรื่อย ๆ ทิวทัศน์ของนครหลวงเวียงจันทน์ค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นท้องทุ่ง สองข้างทางเต็มไปด้วยวัดวาอารามมองเข้าไปภายในวัดประชาชนยังคงมาสรงน้ำพระกันอยู่ ในหน้าบ้านส่วนใหญ่จะมีสระน้ำเป่าลมให้เด็ก ๆ เล่นคลายร้อน ทิวทัศน์อาจจะไม่ได้มีอะไรหวือหวา หรือน่าตื่นเต้นอะไรแต่สิ่งที่สัมผัสได้คือความเป็นวิถีชีวิตของชาวลาวที่ดำเนินไปอย่างสงบ ระหว่างที่พยายามคิดหาคำอธิบายอยู่นั้นรถก็มาหยุดอยู่หน้าด่านตม.ลาวแล้ว วันนี้เป็นวันอาทิตย์สภาพตม.จึงค่อนข้างวุ่นวาย ต้องต่อแถวยาวเหยียดยื่นใบขาออกเพื่อมปั้มพาสปอร์ต และยังต้องซื้อบัตรผ่านแดนลาวอีกซึ่งในวันอาทิตย์เช่นนี้ราคาเพิ่มขึ้นมาถึง ๑๐ เท่าตัวคือจาก ๕ บาทเป็น ๕๐ บาทเพราะเป็นนอกเวลาราชการ เมื่อทำทุกอย่างเสร็จในเวลาอันสั้น ผมจึงเดินข้ามไปอีกฝั่งถนนเพื่อไปร้านแลกเงินร้านเดิมกับตอนขาไป แต่ร้านปิดเลยจำต้องไปแลกเงินบาทที่ธนาคารแทน ซึ่งแถวยาวมาก แถมยังต้องกรอกใบขอแลกเงินอีกซึ่งเหลือเงินกีบถึง ๔๑๓,๐๐๐ กีบ แต่เลือกเก็บไว้เป็นที่ระลึกบางส่วนจึงแลกคืนไป ๓๐๒,๐๐๐ กีบ ได้เงินไทยมา ๑,๑๐๐ บาท (ตอนนั้นเรทดีมาก) เท่ากับว่าใช้เงินที่ลาวไปแค่ประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ กีบเท่านั้น ประหยัดกว่าที่คิดมาก แต่เพราะแถวแลกเงินที่ยาวมาก และการดำเนินการของธนาคารที่ค่อนข้างช้าทำให้ผมไปขึ้นรถทัวร์เป็นคนสุดท้าย T_T (ทางที่ดีไปแลกเงินในเวียงจันทน์ก่อนกลับเลยก็ดี เรทไม่ต่างกันมาก)
เมื่อผู้โดยสารขึ้นรถมาครบแล้ว รถทัวร์ก็เคลื่อนตัวออกเดินทางต่อไป ใช้เวลาประมาณ ๒ นาทีจากตม.ลาว ก็มาถึงสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแล้ว ความรู้สึกตอนนั้นโหวงแปลก ๆ ในหัวพูดคำว่า "หมดเวลาสนุกแล้วสิ" วนไปวนมาหลายรอบ ทันทีที่รถข้ามามาถึงกึ่งกลางสะพานจากธงชาติลาว เริ่มเปลี่ยนเป็นธงชาติไทยนี่เราได้กลับบ้านแล้วสินะ เกิดความรู้สบายใจขึ้นมาแทนที่ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ลืมหันกลับไปมองฝั่งลาวและพูดว่า "แล้วเจอกันใหม่" ในใจ นั่งชื่นชมในความยิ่งใหญ่ของแม่น้ำโขงได้ไม่นานรถก็มาหยุดกึกที่ด่านตม.ไทย ที่ด่านตม.ไทยคนก็เยอะเช่นกันแต่สำหรับผู้ถือพาสปอร์ตไทยจะสะดวกมากตรงที่มีช่องแสกนทำให้ทุกอย่างเสร็จสิ้นในเวลาอันสั้น และผมเป็นคนแรก ๆ ที่ขึ้นมานั่งรอบนรถ (รู้สึกเหมือนไถ่บาปได้ ๕๕๕) นั่งรอประมาณครึ่งชั่วโมงรถก็ออกจากด่านตม. ผ่านเมืองหนองคายไปตามถนนหมายเลข ๒ ถนนมิตรภาพมุ่งหน้าสู่เมืองอุดรธานี ซึ่งหากกันแค่ ๕๐ กิโลเมตร ทิวทัศน์สองข้างทางเป็นท้องทุ่งนาที่คุ้นเคย ป้ายต่าง ๆ เป็นภาษาไทย ให้ความรู้กลับสู่ Comfort Zone แต่ก็รู้สึกตื่นเต้นในใจไปด้วยตรงที่พอรถจอดแล้วจะไปเที่ยวไหนดี เพราะไม่เคยมาในตัวเมืองอุดรธานีมาก่อน จนเวลาประมาณบ่ายสองโมงทิวทัศน์เริ่มเปลี่ยนเป็นเมืองขนาดใหญ่ มีห้างร้านอาคารหนาแน่น เป็นสัญญาณบอกว่าขณะนี้ได้มาถึงหัวเมืองใหญ่ทางภาคอีสานตอนบนแล้วคือ "เมืองอุดรธานี"
ที่นั่งนุ่ม และกว้างขวางใช้ได้อยู่
มีจอบอกด้วยว่าอนนี้รถวิ่งด้วยความเร็วเท่าใด
สภาพที่นั่ง ยังไม่มีผู้โดยสารขึ้นมาสักคน T_T
นั่งรถมาประมาณครึ่งชั่วโมงก็ถึงตม.ลาวแล้ว
ขณะที่กำลังข้ามสะพานมิตรภาพฯ บ้ายบายเมืองลาว ไว้จะกลับมาใหม่เด้อ ภาพนี้ถ่ายติดทั้ง ๒ ประเทศเลย ฝั่งซ้ายเป็นประเทศลาว ฝั่งขวาเป็นประเทศไทย มีแน่น้ำโขงกั้นกลางเป็นพรมแดนธรรมชาติอยู่
ถึงตม.ฝั่งไทย ถ้าถือพาสปอร์ตไทยแสกนแปปเดียวก็ผ่านออกมาได้แล้ว รวดเร็วมาก พาสปอร์ตไม่โล่งแล้วนะ :)
จากสะพานมิตรภาพที่หนองคายใช้เวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง รถก็มาจอดที่สถานีขนส่งอุดรธานีแล้ว
รถทัวร์จอดให้ผู้โดยสารลงที่สถานีขนส่งผู้โดยสารอุดรธานี แห่งที่ ๑ ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมือง บรรยากาศสถานีขนส่งคึกคักมากคงเพราะเป็นวันที่คนส่วนใหญ่เริ่มเดินทางกลับจากภูมิลำเนา เข้ากรุงเทพฯ กันแล้ว ในวันนี้ผมมีแผนเที่ยวเมืองอุดรธานีไว้ในหัวคือจะไปทานอาหารกลางวันที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า อุดรธานี ไปสวนสาธารณะหนองประจักษ์ ไหว้ศาลหลักเมือง และไปซื้อของฝากที่ร้านวีทีแหนมเนือง ก่อนจะไปรอรถไฟที่สถานีรถไฟอุดรธานี จากสถานีขนส่งเดินไปประมาณ ๑๐๐ เมตรก็ถึงเซ็นทรัลแล้ว
ศูนย์การค้าเซ็นทรัลที่นี่กว้างใหญ่มาก ร้านค้าก็มากมาย จึงอยากลองเดินสำรวจก่อนจะหาอะไรกิน แต่สุดท้ายก็มาจบที่ร้านแมคโดนัลด์ ระหว่างนั่งทานอาหารจึงโทรไปรายงานที่บ้านว่าตอนนี้อยู่อุดรฯ แล้ว เป็นที่น่าผิดหวังที่ข้าวกระเพราสาขานี้ทำแฉะมากจนรู้สึกเหมือนกินข้าวต้ม แต่อย่างน้อยก็ช่วยให้อิ่มท้องได้ พอทานอาหารจนอิ่มรู้สึกมีพลังพร้อมไปเที่ยวต่อแล้วจึงมุ่งหน้าออกจากเซ็นทรัลไปสวนสาธารณะหนองประจักษ์ก่อนที่ฟ้าจะมืดไปกว่านี้ และฝนอาจจะตกได้...
เดินออกมาด้านหน้าสถานีขนส่ง แล้วเลี้ยวขวา
เดินไปแปปเดียวก็เห็นเซ็นทรัลอยู่ฝั่งตรงข้ามแล้ว ท้องฟ้าเริ่มขมุกขมัว
เดินเข้าไปในเซ็นทรัลร้านค้าเยอะไม่แพ้ในกรุงเทพเลย After You ก็กำลังจะมาเปิด
ไม่รู้จะกินอะไรดี จริง ๆ อยากกินอาหารอีสานมาก แต่สุดท้ายมากินข้าวผัดกระเพรา แมคโดนัลด์ (ข้าวแฉะมาก T____T)
ฝืนกินข้าวแฉะ ๆ ไปจนหมดจาน ยังดีที่อิ่มท้อง แล้วได้เวลาเดินทางสู่สวนสาธารณะหนองประจักษ์
ด้วยความที่นี่เป็นครั้งแรกของผมที่ได้มาเยือนเมืองอุดรธานี ทำให้ต้องพึ่งพา Google Maps ในการเดินทาง เพราะตั้งใจจะเดินเท้าสำรวจเมือง จากเซ็นทรัลไปหนองประจักษ์ห่างกันประมาณ ๓ กิโลเมตร ใช้เส้นทางถนนวัฒนานุวงศ์ตรงไปตลอดทางเลยครับ บ้านเมืองในอุดรธานีส่วนมากเป็นอาคารพาณิชย์ไม่ค่อยสูงมากตั้งกันหนาแน่นเพราะว่าตัวเมืองอยู่ใกล้กับสนามบินจึงสร้างอาคารสูงมากไม่ได้ ในปัจจุบันแม้อุดรธานีจะพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในฐานะเมืองธุรกิจ และการค้า เพราะมีชาวลาวหลั่งไหลไปจับจ่ายใช้สอยเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการลงทุนสูง คอนโด ห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ผุดขึ้นมามากมาย แต่ในขณะเดียวกันวิถีชีวิตของคนที่นี่ก็ยังคงรักษารากเดิมไว้ได้ ยังคงมีร้านอาหารอีสาน ผู้คนยังคงสื่อสารกันด้วยภาษาถิ่น
จากท้องฟ้าที่ขมุกขมัวตอนนี้แดดเริ่มออกมาทักทาย สองข้างถนนที่นี่ยังคงคึกคักไปด้วยผู้คนที่เล่นน้ำสงกรานต์ ที่นี่เล่นสงกรานต์โหดกว่าที่ลาวมาก ทั้งเปิดเพลงบนรถเต้นท่าหวาดเสียว ดื่มสุราแล้วลงไปเต้นบนถนนระหว่างจอดติดไฟแดง หรือขนถังน้ำแข็งมาเล่นก็มี แต่ในขณะเดียวกันเด็ก ๆ ที่นี่ยังคงเล่นสงกรานต์กันน่ารัก น่าเอ็นดู บางบ้านก็มานอนเล่นที่สระว่ายน้ำเป่าลมหน้าบ้าน บ้างก็ถือปืนฉีดน้ำเล็ก ๆ คอยฉีดคนที่เดินผ่านไปมา หลายคนจึงพยายามเลี่ยงที่จะเดินผ่าน เด็ก ๆ เริ่มทำหน้าหงอยผมจึงยอมโดนฉีดแต่บอกน้อง ๆ ว่า "ฉีดค่อย ๆ เด้อ" เด็ก ๆ พวกนี้ทำให้นึกย้อนไปตอนที่ตัวผมเฝ้ารอวันที่ ๑๓ เมษายน ยกถังน้ำออกไปตรงถนนหน้าบ้านแล้วเติมใส่ปืนฉีดน้ำฉีดผู้คนที่ผ่านไปมา นึกแล้วก็อดคิดถึงความร่าเริงของตัวเองในตอนนั้นไม่ได้ :D
แสงแดดที่ร้อนแรงทำให้เสื้อของผมกลับมาอยู่ในสภาพปกติอย่างรวดเร็ว ที่เมืองอุดรธานีมีร้านอาหารเวียดนามค่อนข้างมาก ทั้งเฝอ และแหนมเนือง เช่นเดียวกับเมืองหนองคาย และเวียงจันทน์ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีชาวเวียดนามอพยพเข้ามาเป็นจำนวนมากในช่วงสงครามเวียดนาม เดินไปเรื่อย ๆ ทันใดนั้นก็พบป้ายแยกไปศาลหลักเมืองจึงตัดสินใจไปไหว้ศาลหลักเมืองก่อน แล้วจึงไปหนองประจักษ์ เพราะจากหนองประจักษ์ไปสถานีรถไฟนั้นใช้คนละเส้นทางกัน...
จากเซ็นทรัลไปหนองประจักษ์ค่อนข้างไกลเหมือนกัน แต่ก็ยังคงยืนกรานว่าจะเดินนะครับ ๕๕๕
ที่อุดรฯ ยังคงเล่นสงกรานต์กันอย่างครื้นเครง
พื้นถนนเปียกชุ่มไปด้วยน้ำ
เจอป้ายบอกทางแล้ว ไม่หลงแน่
รถคันนี้มาเป็นถังน้ำแข็งเลย การเล่นน้ำที่นี่โหดใช่เล่น
เดินไปเรื่อย ๆ ท่ามกลางแดดมองไปฝั่งตรงข้ามเจอร้าน ปิ้งไก่น้อย (ไก่ปิ้งไม้จิ๋ว)
คอนโดสูงทันสมัยกลางเมืองอุดรฯ
หันไปมองด้านข้างคอนโดมีร้านอาหารอีสานอยู่ข้าง ๆ
ตึกแถวตึกนี้สีสันประตูสดใสดี
หันไปมองอีกฝั่งถนน ดอกคูนเป็นสัญลักษณ์ของเดือนเมษายนสินะ กำลังบานเต็มที่เลย
ป้ายถนนเป็นสัญลักษณ์ไหบ้านเชียงแฮะ เดินเลี้ยวซ้ายจะไปถนนอุดรดุษฎีจะไปโผล่ศาลหลักเมือง เลยเลือกไปศาลหลักเมืองก่อน
เข้ามาถนนอุดรดุษฎีแล้วเดินข้ามฝั่ง เลี้ยวขวาเข้าถนนเล็ก ๆ ที่ชื่อว่าถนนอธิปบดี
คลองที่นี่เหมือนในกรุงเทพฯ เลยแฮะ
ฝั่งซ้ายมือเป็นที่ทำการ เทศบาลนครอุดรธานี
มองไปฝั่งตรงข้ามเป็นศาลจังหวัดอุดรธานี ให้เดินตรงไปเรื่อย ๆ ข้ามถนนตรงสี่แยกข้างหน้าแล้วเลี้ยวซ้ายประมาณ ๕๐ ก้าวก็จะถึงศาลหลักเมืองแล้ว
ถึงแล้วศาลหลักเมืองอุดรธานี
ศาลหลักเมืองอุดรธานี ในวันนี้มีชาวเมืองอุดรธานีมาสักการะ และสรงน้ำพระกันมากมาย เพราะนอกจากศาลหลักเมืองแล้ว พื้นที่โดยรอบยังมีท้าวเวสสุวัณ และหลวงพ่อพระพุทธโพธิ์ทองให้บูชาเสริมสิริมงคลอีกด้วย หลังจากไหว้ศาลหลักเมืองเป็นสิริมงคลก่อนกลับบ้านแล้ว "ก็ไม่ลืมอธิษฐานว่าถ้าได้มาเมืองอุดรฯ จะกลับมาไหว้อีก" ก็เดินตรงไปบนถนนอธิบดีเพื่อไปสวนสาธารณะหนองประจักษ์ จากศาลหลักเมืองเดินตรงไปประมาณ ๕๐๐ เมตรก็ถึงแล้ว บริเวณถนนหน้าสวนสาธารณะหนองประจักษ์มีการเล่นน้ำสงกรานต์คึกคักมากจนถนนเจิ่งนองไปด้วยน้ำ...
ภายในศาลหลักเมืองห้ามสรงน้ำ
สีหน้าของชาวเมืองอุดรฯ ที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม เมื่อได้มาสักการะศาลหลักเมือง
ด้านข้างศาลหลักเมืองมีท้าวเวสสุวัณ
ตอนเช้าสรงน้ำพระแบบลาวไปแล้ว ตอนบ่ายมาสรงน้ำพระแบบบ้านเรากันบ้าง
ไหว้ศาลหลักเมืองก่อนกลับบ้านแล้ว จึงเดินมุ่งหน้าสู่หนองประจักษ์บนถนนอธิปบดี มีทางจักรยานเล็ก ๆ ด้วย
เดินตรงไปบนถนนอธิปบดีผ่านสวนศรีเมือง
เยื้องกับสวนศรีเมือง เป็นศาลเจ้าเมืองอุดรธานี
มีรถรางชมเมืองบริการฟรีด้วย แต่วันนี้ยังไม่เจอสักคัน
เดินตรงไปบนถนนอธิปบดีประมาณ ๕๐๐ เมตรจากศาลหลักเมืองก็ถึงแล้ว หนองประจักษ์
ซึ่งตอนนี้เปียกชุ่มไปด้วยน้ำ จากคนที่เล่นน้ำสงกรานต์
หนองประจักษ์ ฝั่งตรงข้ามเป็นโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี
หนองประจักษ์เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ที่มีมาตั้งแต่ก่อนตั้งเมืองอุดรธานี ที่มีชื่อว่าหนองประจักษ์เพราะตั้งชื่อตามผู้ก่อตั้งเมืองอุดรธานีคือพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ต่อมาได้รับการพัฒนาเป็นสวนสาธารณะ แหล่งพักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองอุดรธานี ปัจจุบันที่หนองประจักษ์แห่งนี้มีตุ๊กตาเป็ดน้อยสีเหลืองลอยน้ำเป็นจุดเด่น ที่ใครต่อใครที่ได้มาหนองประจักษ์ต่างต้องถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึกกันทั้งนั้น
ที่สวนสาธารณะหนองประจักษ์แห่งนี้มีการตกแต่งที่ดูดี สะอาด สะอ้านน่าเดินมาก แต่เสียตรงนกพิราบเยอะไปหน่อย ถ่ายรูปที่นี่จนเพลิดเพลิน ท้องฟ้าก็กลับมาครึ้มอีกครั้ง หนนี้ดูท่าจะตกจริงผมเลยรีบเดินข้ามสะพานแขวนไปฝั่งโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี เพื่อไปซื้อของฝากที่ร้านวีทีแหนมเนือง...
มองไปอีกด้านมีไหบ้านเชียงยักษ์ด้วย
มองไปด้านหน้าสวนสาธารณะหนองประจักษ์ บรรยากาศการเล่นน้ำคึกคักมาก ร้านค้าก็มากมายเช่นกัน
แผนผังสวนสาธารณะหนองประจักษ์ กว้างขวางใช่เล่นเลย
ไหบ้านเชียง มรดกโลกถูกขุดค้นที่บ้านเชียง อ.หนองหาน จังหวัดอุดรธานี เป็นตัวบ่งบอกว่าพื้นที่แห่งนี้มีอารยธรรมมายาวนานกว่าพันปีมาแล้ว
เดินข้ามสะพานไปบนเกาะบ้าง
เจ้าเป็ดน้อยยังคงนอนกลางวันอยู่
บรรยากาศร่มรื่นดีแท้ คลายความร้อนจากแดดได้โข
นกพิราบบินมาได้จังหวะพอดี
ภายในสวนมีการตกแต่งด้วยสีสันสดใส
เดินมาตรงดงต้นปาล์มบ้าง ตรงนี้เงียบดี
มีสะพานแขวนด้วย เมฆฝนคืบคลานมาอีกแล้ว
รีบเดินข้ามสะพานไปฝั่งโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานีดีกว่า ฝนท่าจะตกในไม่ช้่า
มืดขึ้นเรื่อย ๆ
มองไปอีกฝั่งยังสว่างอยู่
จากประตูใหญ่หน้าสวนสาธารณะหนองประจักษ์ ฝั่งโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานีให้เดินข้ามถนนไปฝั่งโรงพยาบาลแล้วเดินเลี้ยวขวาเลียบโรงพยาบาลไปตามถนนเทพารักษ์ ประมาณ ๗๐๐ เมตรจะเจอสามแยกให้เลี้ยวซ้ายเดินเลียบหลังวัดโพธิสมภรณ์ไปประมาณ ๑๐๐ เมตรจะเจอร้านวีทีแหนมเนืองอยู่ฝั่งตรงข้าม
หากพูดถึงแหนมเนืองเจ้าดังในเมืองหนองคายคงต้องนึกถึง แดงแหนมเนือง หากพูดถึงเมืองอุดรธานีก็คงต้องเป็น วีทีแหนมเนือง ไหน ๆ ก็มาถึงเมืองอุดรธานีทั้งทีเลยอยากลองร้านดังจะได้ไม่เป็นการเสียเที่ยว ที่นี่นอกจากแหนมเนืองแล้วยังมีสินค้าอื่น ๆ ขายคล้ายกับศูนย์ขายของฝากทั่วไป แหนมเนืองที่นี่มีเซตสำหรับเดินทางด้วยใส่ในกล่องแน่นหนาเก็บได้ประมาณ ๒ วัน เดินชมสินค้าได้ไม่นานก็ได้แหนมเนืองเซตเดินทางกล่องใหญ่ ๑ กล่อง กล้วยฉาบ และอื่น ๆ ไปฝากที่บ้าน หมดค่าของฝากไปราว ๔๐๐ บาท...
เส้นทางจากสวนสาธารณะหนองประจักษ์ไปร้านวีทีแหนมเนือง ระยะทาง ๑ กิโลเมตร
แอบถ่ายหอพักข้างโรงพยาบาล
หอพักของโรงพยาบาลเรียงกันอาร์ตดี
ถึงสามแยกแล้วเดินเลี้ยวซ้ายโลด
เดินเลียบกำแพงวัดโพธิสมภรณ์ ฝั่งตรงข้ามเป็นร้านวีทีแหนมเนือง
ถึงแล้ว ร้านวีทีแหนมเนือง
เมื่อซื้อของฝากเสร็จท้องฟ้ายิ่งมืดหนักกว่าเดิม เห็นท่าไม่ดีถ้าเดินไปสถานีรถไฟอีกตั้ง ๓ กิโลเมตร แถมยังต้องแบกสัมภาระที่หนักอยู่แล้ว รวมกับของฝากที่เพิ่งซื้อมาเพิ่มเข้าไปอีก ไม่แคล้วคงต้องเปียกฝนเป็นแน่ ผมเลยลองเรียกใช้บริการ Grab ดูเป็นครั้งแรก ภายใน ๑๐ นาทีรถก็มารับ โชเฟอร์พูดจาสุภาพ เป็นกันเอง เพื่อไม่ให้บรรยากาศเงียบเหงาเลยลองถามดูว่าทำไมมาขับ พี่แกบอกว่าขับเป็นอาชีพเสริมช่วงบ่ายถึงเย็นเฉย ๆ ลูกค้ายังไม่ค่อยเยอะมาก เพราะเพิ่งมีที่อุดรธานีไม่นาน ช่วงเวลา ๔ โมงครึ่งเช่นนี้การจารจรจึงค่อนข้างติดขัด อีกทั้งยังมีการเล่นน้ำสงกรานต์กันแทบทุกหัวมุมถนนทำให้รถติดมากขึ้นไปอีก เสียงเพลงดังกึกก้องที่แม้แต่อยู่ในรถที่ปิดกระจกแน่นหนาก็ยังคงได้ยิน ผู้คนบนท้ายรถกระบะที่ถือขวดสุราแล้วเดินลงมาเต้นบนถนนอย่างโจ่งแจ้ง ขณะติดไฟแดง เมื่อเห็นภาพเช่นนี้บางทีก็นึกสงสัยว่าควรจะหาทางแก้ไขอย่างไรดี หรือควรจะปล่อยผ่านเพราะปีหนึ่งมีแค่หนเดียว?
นั่งรถมาประมาณเกือบครึ่งชั่วโมงก็มาถึงหน้าสถานีรถไฟอุดรธานี เสียค่าโดยสารไป ๑๐๐ บาท จริง ๆ แล้ว ๘๐ บาท แต่ให้ทิปด้วย เพราะรู้สึกได้รับการบริการที่ดี ขณะนี้เวลา ๑๗:๐๐ น. แม้ฝนจะยังไม่ตกแต่ฟ้าก็เริ่มส่งเสียงคำราม ทำให้คิดว่าไม่ควรออกไปเลาะที่ไหนแล้ว นั่งรอรถไฟไปนี่ล่ะอีก ๓ ชั่วโมง บรรยกาศที่สถานีรถไฟอุดรธานีวันนี้คึกคักมาก แน่นอนว่าตั๋วถูกขายหมดเกลี้ยงจนเหลือเพียงตั๋วยืน ผมผู้ซึ่งจองตั๋วล่วงหน้าตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้จอง(ตั้งแต่วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์) จึงหมดกังวลไป ตั๋วยืนจะมีสิทธิ์โดยสารได้เฉพาะชั้น ๓ เท่านั้น ส่วนตู้ชั้น ๒ ชั้น ๑ และตู้นอน จะไม่มีสิทธิ์ขึ้นไปครับ นั่งรอไปประมาณ ๑ ชั่วโมงฝนก็เริ่มตกลงมาอย่างไม่ขาดสาย ผู้โดยสารมารอรถไฟกันมากขึ้นจนต้องมานั่งรอกันบนพื้นสถานีรถไฟเพราะม้านั่งไม่มีที่ว่างอีกต่อไปแล้ว...
จากตั๋วรถด่วนพิเศษขบวนที่ ๒๖ (อีสานมรรคา) จะออกจากสถานีอุดรธานีเวลา ๑๙:๕๙ นาที ต้องนั่งรออีกตั้งเกือบ ๓ ชั่วโมง
หัวรถจักรขนอุปกรณ์สร้างทาง
ผู้โดยสารที่ทยอยมานั่งรอรถไฟกันเรื่อย ๆ จนไม่มีม้านั่งใดที่ยังไม่ถูกจับจอง
รถไฟเสริมพิเศษช่วงสงกรานต์ขบวนที่ ๙๓๖ (อุดรธานี-กรุงเทพ) กำลังกลับหัวเตรียมไปกรุงเทพเวลา ๒ ทุ่ม ๔๐ นาที
เดินไปถ่ายรูปหน้าสถานีรถไฟรอเวลาดีกว่า
พระอาทิตย์ใกล้จะลับขอบฟ้า
๑๘:๐๗น. รถด่วนดีเซลรางขบวนที่ ๗๕ (กรุงเทพ-หนองคาย) เพิ่งมาถึงอุดรธานี วันนี้ขบวน ๗๘ (หนองคาย-กรุงเทพ) เสียเวลาแน่ ๆ
มองไปชานชาลาที่ ๒ รถเสริมพิเศษขบวนที่ ๙๓๖ (อุดรธานี-กรุงเทพ) จอดรอผู้โดยสารอยู่
ม้านั่งถูกจับจองเต็มจนผู้โดยสารเริ่มมานั่งรอบนพื้นสถานี
๑๙:๓๐น. รถเร็วขบวน ๑๓๔ (หนองคาย-กรุงเทพ) มาถึงพอดี วันนี้พ่วงตู้นอนปรับอากาศด้วย ตอนที่ผมนั่งเมื่อต้นปีมีแต่ชั้น ๓ T_T
ร้อยละ ๙๕ เป็นตู้นั่งชั้น ๓ พ่วงตู้นอนชั้น ๒ ปรับอากาศเพียง ๑ ตู้
ผู้โดยสารกำลังเดินข้ามไปขึ้นรถไฟเสริมพิเศษช่วงสงกรานต์ขบวนที่ ๙๓๖ (อุดรธานี-กรุงเทพ) ซึ่งจะออกในเวลา ๒๐:๔๐ น.
๑๙:๕๔ น. รถด่วนพิเศษขบวนที่ ๒๖ (อีสานมรรคา) (หนองคาย-กรุงเทพ) เทียบชานชาลาที่ ๑ สถานีรถไฟอุดรธานี มาก่อนเวลาออก ๖ นาที :)
เมื่อรถเร็วขบวนที่ ๑๓๔ ออกจากสถานีไปตอน ๑ ทุ่มครึ่ง ผมจึงเตรียมข้าวของไปยืนรอตรงชานชาลา ที่สถานีรถไฟอุดรธานีบนพื้นชานชาลามีระบุว่ารถไฟตู้ที่เราจะขึ้นจะจอดตรงบริเวณไหน นับว่าสะดวกมากเพราะทำให้ขึ้นรถไฟได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ยืนรอจนเวลา ๑๙:๕๔ น. รถด่วนพิเศษขบวนที่ ๒๖ (อีสานมรรคา) ก็มาถึง มาก่อนเวลาออก ๖ นาทีแน่ะ เป็นครั้งแรกเลยที่ผมได้ใช้บริการตู้นอนแบบใหม่ที่เพิ่งซื้อมาจากจีนเมื่อปลายปี ๕๙ ความรู้สึกเมื่อเดินขึ้นรถที่ประตูเปิดด้วยระบบอัตโนมัติ เบาะที่นั่งตกแต่งด้วยสีแดงดูภูมิฐาน มีพนักงานคอยอำนวยความสะดวกบอกตำแหน่งที่นั่ง รถวิ่งนิ่มมากเดินทรงตัวได้สบาย ๆ ให้ความรู้สึกเมื่อเปรียบเทียบกับรถไฟตอนขามาแล้วรอบนี้รู้สึกตัวเองราวกับเป็นเจ้าชาย แน่นอนว่าราคาต่างกันถึง ๗๐๐ บาท (เตียงบนจะราคาถูกกว่าเตียงล่างประมาณ ๑๐๐ บาท ) แต่แลกกับความสะดวกสบายที่ได้รับ เหมือนได้นอนโรงแรมเคลื่อนที่แล้วถือว่าคุ้มค่า โชคดีจริง ๆ ที่จองตั๋วทันเพราะวันแรกที่เปิดจอง (วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์) ภายในครึ่งชั่วโมงแรกตั๋วก็เต็มหมดทุกที่นั่งแล้ว T_T อย่าได้ประมาทประเทศไทยช่วงเทศกาลเป็นอันขาด!!!
เนื่องจากยังไม่ได้ทานอาหารเย็นจึงเป็นโอกาสดีที่จะได้ลองใช้บริการตู้เสบียง ซึ่งบริเวณตู้เสบียงมีไวไฟฟรีให้บริการแต่ผมไม่ได้ลองใช้ ๕๕๕ ราคาอาหารค่อนข้างสูงไปมากเมื่อเทียบกับคุณภาพที่ได้ แต่เอาเถอะถือว่าเป็นค่าประสบการณ์ เมื่อทานอาหารเสร็จจึงเดินกลับมาบริเวณที่นั่งซึ่งบัดนี้ถูกแปรสภาพเป็นเตียงนอนเรียบร้อยแล้ว เมื่อนำตั๋วให้เจ้าหน้าที่ตรวจเรียบร้อย จึงเดินไปล้างหน้าแปรงฟันแล้วเตรียมนอนเอาแรง ขากลับต้องกลับแบบสบาย ๆ หน่อย ชาร์จพลัง เมื่อรถไฟมาถึงสถานีน้ำพองผมก็ไม่ได้สติอีกเลย ราตรีสวัสดิ์...
เจอแล้ว เอาของวางแปป เดินไปหาอะไรกินตู้เสบียงก่อน
การเดินข้ามตู้รถไฟเป็นเรื่องง่ายมาก เพราะทางเดินเสมอกัน เพียงกดปุ่มวงกลมประตูก็จะเปิด
มาถึงตู้เสบียงแล้ว คนน้อยกว่าที่คิด สงสัยดึกแล้ว
ราคามหาโหด
สั่งเซตถูกที่สุดมา ๑๔๐ บาท ไร้รสชาติมาก อร่อยสุดคือน้ำส้ม T_T
แวะมาถ่ายห้องน้ำ ดูดี และสะอาดมาก แถมโถส้วมเป็นแบบสุญญากาศเหมือนเครื่องบิน
แปรงฟัน ล้างหน้าแล้วก็ได้เวลาพักผ่อน ฝันดีครับ...
แต่ละตู้จะมีหน้าจอบอกว่าตอนนี้รถไฟอยู่ที่ไหน วิ่งด้วยความเร็วเท่าไหร่ และจะถึงสถานีปลายทางประมาณกี่โมง เรียกได้ว่าอัปเดตแบบ Real-time เลย
เอาสัมภาระไปเก็บไว้ด้านบนก่อน
แอบถ่ายตู้อื่น
DAY-4 วันจันทร์ที่ ๑๖ เมษายน ๒๔๖๑
๐๔:๔๐ น. ถึงสถานีรถไฟสระบุรี
๐๕:๑๖ น. ถึงสถานีรถไฟอยุธยา
๐๕:๕๔ น. ถึงสถานีรถไฟรังสิต
เวลาประมาณตี ๔ ผมก็ถูกปลุกขึ้นมาจากภวังค์ ขณะนี้เพิ่งถึงสถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย คงเสียเวลาแน่นอน เพราะในตั๋วบอกว่าถึงกรุงเทพฯ หกโมงเช้า จึงเดินออกไปล้างหน้า แปรงฟัน และดึงสายชาร์จแบตโทรศัพท์ออก ลืมบอกว่าแต่ละเตียงมีปลั๊กไฟไว้ชาร์จแบตส่วนตัวด้วย จากนั้นจังเอาหูฟังมาเสียบฟังเพลงลาว เพลงความฮู้สึกบอกของวง Cells ด้วยความรู้สึกที่ยังคิดถึงเมืองลาวอยู่ :)
เมื่อเวลาตี ๕ หลังจากเห็นว่าผู้โดยสารที่อยู่เตียงบนแถวผมลงไปแล้วจึงขอให้คุณลุงพนักงานปรับที่นอนเป็นเก้าอี้นั่งให้ แล้วเดินไปตู้เสบียงที่เริ่มเปิดตั้งแต่ตี ๕ เพื่อไปหาเครื่องดื่มร้อน ๆ กินยามเช้า ได้ชามะลิร้อนมา ๑ แก้ว สนนราคา ๕๐ บาท !! นั่งจิบชาเพลิน ๆ ได้ไม่นานพระอาทิตย์ก็เริ่มขึ้นที่ที่หยุดรถมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และไปสว่างที่สถานีรถไฟดอนเมือง พอถึงบางซื่อผู้โดยสารก็ลงไปเกือบทั้งตู้ จนรู้สึกว่ากำลังเหมือนนั่งรถไฟส่วนตัว ในที่สุดเวลา ๗ นาฬิการถไฟก็เคลื่อนตัวเข้ามาจอดที่สถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) เสียเวลาไป ๑ ชั่วโมง ขอบคุณที่มาส่งโดยสวัสดิภาพนะอีสานมรรคา...
วางขวดน้ำจากลาวเท่ ๆ หน่อย
เวลาตี ๕ จึงบอกพนักงานให้ช่วยเปลี่ยนที่นอนเป็นที่นั่งให้ เพราะอยากนั่งชมวิว
ที่นั่งมีช่องหว่างระหว่างขา กว้างพอจะเหยียดขาได้สบาย กรณีที่ไม่มีผู้โดยสารอีกคนนั่งอยู่ตรงข้าม
เดินไปซื้อชาร้อนที่ตู้เสบียงมาดื่มรับอรุณเสียหน่อย
ถึงบางซื่อแล้ว
ที่สถานีบางซื่อผู้โดยสารหายไปกว่าร้อยละ ๘๐
สถานีกลางบางซื่อ สถานีรถไฟแห่งใหม่ที่จะมาเป็นศูนย์กลางของระบบรางในไทยแทนสถานีกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) ขณะนี้ก่อสร้างคืบหน้าไปมากแล้ว
ณ ตอนนี้เหมือนรถไฟส่วนตัว
เข้าย่านสถานีกรุงเทพฯ (หัวลำโพงแล้ว)
ถึงแล้วบางกอก แดนศิวิไลซ์ เมืองที่ใครต่อใครต้องมา ^^
อาโน! แวร์อีสพลัสโฟร์มไนน์แอนด์ทีควอเต้อ?
ขอโทษครับชานชาลาที่เก้าเศษสามส่วนสี่ไปทางไหน?
ขอบใจเด้อ อีสานมรรคาที่ซ่วยมาส่งข่อยโดยปลอดภัย
เดินออกมาหน้าหัวลำโพง
ส่งท้ายทริปด้วยภาพ หัวลำโพง ข้างวัดสุทัศน์มีเสาชิงช้าาาาาา
เพลงความฮู้สึกบอก ฟังทีไรภาพความทรงจำที่ลาวก็ลอยเข้ามาในหัวทุกที :)
จบทริปต่างประเทศทริปแรกของผมไปแล้ว แถมยังเป็นทริปเดี่ยวเสียด้วย พอไปออกทริปจริงจังแล้วก็นึกถึงคำพูดที่ว่า "ให้เที่ยวตั้งแต่ยังมีแรง" แล้วพบว่าจริงมาก ในช่วงทริปเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้เสมอ ถ้าร่างกายแข็งแรงอย่างไรย่อมได้เปรียบ และคล่องตัวกว่าอยู่แล้ว สำหรับทริปนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีตัวผม ไม่มีงานพิเศษ ที่ทำให้มีทุนทรัพย์ ขอบคุณตัวเองที่หาญกล้าจะออกนอกกรอบ และทำความฝันให้เป็นจริง ขอบคุณพ่อแม่ที่ไม่คัดค้าน และคอยส่งกำลังใจอยู่ห่าง ๆ ขอบคุณเอคลุงที่ให้กำลังใจก่อนไป จนถึงตอนกลับ และขอบคุณทุกคนที่อยู่รอบตัวผม และขาดไม่ได้เลยคือท่านผู้อ่านที่ตามอ่าน และคอยให้กำลังใจเสมอมา ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะออกเดินทางและมาแบ่งปันเรื่องราวต่อ...
สรุปค่าใช้จ่ายวันอาทิตย์ที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๖๑
- ค่าตั๋วรถทัวร์เวียงจันทน์-อุดรธานี ๒๔,๐๐๐ กีบ (๙๔ บาท)
- ทำบุญวัดอินแปง ๒๕,๐๐๐ กีบ (๙๘ บาท)
- ทำบุญวัดมีไซ ๒๐ บาท
- เป๊บซี่ ๕,๐๐๐ กีบ (๑๙ บาท )
- บัตรผ่านแดนลาว ๕๐ บาท
- ชานม ๒๕ บาท
- อาหารกลางวันแมคโดนัลด์ ๘๘ บาท
- ของฝาก ๔๓๐ บาท
- ค่า Grab ๑๐๐ บาท
รวม ๕๔,๐๐๐ กีบ + ๗๑๓ บาท (๙๒๔ บาท)
*เงินบาทเป็นการประมาณจากอัตราแลกเปลี่ยนวันที่เดินทางเท่านั้น
สรุปค่าใช้จ่ายวันจันทร์ที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๑
- ชามะลิร้อน ๕๐ บาท
รวม ๕๐ บาท
สรุปค่าใช้จ่ายทั้งหมดตลอดทริป
- วันพฤหัสบดี ที่ ๑๒ เมษายน ๒๔๖๑ ๓๐๓ บาท
- วันศุกร์ ที่ ๑๓ เมษายน ๒๔๖๑ ๗๙๑.๕๑ บาท (๑๐๕,๐๐๐ กีบ)
- วันเสาร์ที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๖๑ ๘๕,๕๐๐ กีบ (๓๓๐ บาท)
- วันอาทิตย์ที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๖๑ ๕๔,๐๐๐ กีบ + ๗๑๓ บาท (๙๒๔ บาท )
- วันจันทร์ที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๑ ๕๐ บาท
- ค่ารถไฟขาไป ๒๔๘ บาท
- ค่ารถไฟขากลับ ๙๗๙ บาท
- ค่าโรงแรมมะลิน้ำพุ ๗๔๐ บาท + ภาษี ๒๐๐ บาท (๙๔๐ บาท)
รวมค่าใช้จ่ายตลอดทริป ๔,๕๖๕.๕๑ บาท หักค่าของฝากออกเหลือ ๔,๑๓๕.๕๑ บาท
*เงินบาทเป็นการประมาณจากอัตราแลกเปลี่ยนวันที่เดินทางเท่านั้น
สำหรับงบประมาณที่ตั้งไว้ ๖,๐๐๐ บาท ใช้ไป ๔,๑๓๕.๕๑ บาท ถือว่าประหยัดกว่าที่คิดมากสำหรับทริปเดี่ยวที่ไม่มีใครหาร T_T สำหรับเอนทรี่หน้าหากมีแรงบันดาลใจ หรือเรื่องราวที่อยากเล่าจะมีมาอีกแน่นอน สำหรับวันนี้ขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกคน และจะยินดีมากหากมีใครจะไปลาวแล้วได้ประโยชน์จากเรื่องราวของผม มาเล่าสู่กันฟังได้เสมอเลยครับ สำหรับวันนี้ ราตรีสวัสดิ์ครับ...
สำหรับงบประมาณที่ตั้งไว้ ๖,๐๐๐ บาท ใช้ไป ๔,๑๓๕.๕๑ บาท ถือว่าประหยัดกว่าที่คิดมากสำหรับทริปเดี่ยวที่ไม่มีใครหาร T_T สำหรับเอนทรี่หน้าหากมีแรงบันดาลใจ หรือเรื่องราวที่อยากเล่าจะมีมาอีกแน่นอน สำหรับวันนี้ขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกคน และจะยินดีมากหากมีใครจะไปลาวแล้วได้ประโยชน์จากเรื่องราวของผม มาเล่าสู่กันฟังได้เสมอเลยครับ สำหรับวันนี้ ราตรีสวัสดิ์ครับ...
0 comments:
Post a Comment