SAMA'S Story: รีวิวชีวิต 1 ปีในรั้วมหาวิทยาลัย
สวัสดีท่านผู้อ่านที่หลงเข้ามาอ่านทุกท่านครับ ห่างหายจากบล็อกไปนานในที่สุดก็ได้ฤกษ์อัปก่อนสิ้นปีเสียที สำหรับเอนทรีส่งท้ายปีนี้อยากจะเล่าเหตุการณ์ในปีที่แล้วกับปีนี้หลังจากเข้าไปอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยเป็นบันทึกความทรงจำและแบ่งปันประสบการณ์เสียหน่อย ถ้างั้นมาเริ่มกันเลยดีกว่า Allez cuisine ! (ไม่ใช่เชฟกระทะเหล็ก =_=)
ปี 2016 Freshman
-ใช้ชีวิตเด็กหอครั้งแรก!
ปีนี้ตั้งแต่เดือนสิ้นเดือน กรกฎาคมเป็นต้นไปจะต้องย้ายเข้ามาอยู่หอในเสียแล้ว หลากหลายความรู้สึกถาโถมเข้าใส่เนื่ิองจากตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยไปอยู่อาศัยที่อื่นกับคนแปลกหน้าเป็นวันเป็นเดือนเลย จึงรู้สึกตื่นเต้นและกังวลมาก เมตที่สุ่มมาจะเป็นยังไงนะ? จะคิดถึงบ้านหรือเปล่า? แต่หลังจากได้มาอยู่แล้วถึงจะไม่ได้รู้สึกพิเศษกับชีวิตเด็กหอขนาดนั้น แต่ก็ดีใจมากที่ทุกอย่างเป็นไปด้วยดีและชื่นชมตัวเองเล็กๆ ทีสามารถก้าวข้ามความกังวลไปได้
-ชีวิตเฟรชแมน *w*
หลังจากรู้ผลแอดมิชชันก็คอยจินตนาการอยู่ตลอดว่าชีวิตเฟรชแมนมหาวิทยาลัยมันจะเป็นยังไง จะสวยงามราบรื่น พบเจอแต่สื่งใหม่ๆที่เติมเต็มพลังกายและใจเหมือนที่ละครหลายเรื่องนำเสนอหรือเปล่า หรือจะโหดร้าย มีแต่รุ่นพี่บ้าอำนาจ และใช้ความรุนแรงแบบในข่าวที่พบเจอได้ทุกปี จะเป็นยังไงจะร้ายหรือดีผมก็ได้เตรียมใจเอาไว้แล้วแต่ก็ยังหวั่นใจอยู่ดี เพราะตอนนี้ได้ใช้ชีวิตโดดเดี่ยวอย่างเต็มรูปแบบไม่มีสหายข้างกายแบบสมัยมัธยมคอยช่วยเหลืออีกต่อไป ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ต้องฟันฝ่าด้วยตัวเอง! เวลาผ่านไปไวราวกับโกหกหลังจากจบไปหนึ่งภาคเรียนก็พบว่าชีวิตเฟรชแมนจะเป็นยังไงนั้นส่วนหนึ่งอยู่ที่ตัวเราเลือกเอง ในดินแดนแห่งเสรีภาพนี้ทุกคนมีสิทธิเลือก เลือกกลุ่มเพื่อนที่ใช่ เลือกทำกิจกรรมที่ชอบ เลือกที่จะพบปะผู้คน เลือกที่จะหลีกหนีสังคมไปหาความสงบ เลือกที่จะใช้เวลากับตัวเอง ไม่มีใครมาบังคับเราได้นอกจากตัวเอง พอสรุปได้แบบนี้แล้วก็พบว่าชีวิตเฟรชแมนมันไม่มีอะไรเลย! เราเท่านั้นที่จะเป็นคนกำหนดให้มันมีอะไร
-การเรียนจะรอดหรือล่วง?
เรื่องเรียนคงเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่กังวลก่อนเข้ามหาวิทยาลัย ผมเองก็กังวลยิ่งเข้าไปแบบไร้เอกด้วย ยิ่งกังวลว่าจะได้เข้าเอกที่ต้องการได้หรือไม่ เพราะต้องทำเกรดให้ได้สูงๆ ต้องไปแข่งขันกับคนอื่นๆ ที่มีเป้าหมายเดียวกับเราซึ่งมีพลังความสามารถและความพยายามไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าตัวเรา ความกดดัน ความคาดหวังที่แบกรับ ทำให้รู้สึกตัวเองเปลี่ยนไปอยู่ช่วงหนึ่ง คะแนนควิซที่ค่ามีนอยู่ที่เกินร้อยละ 90 อยู่บ่อยครั้งทำให้ความคาดหวัง และกดดันยิ่งทวีมากขึ้นเข้าไปอีก ทั้งๆที่คาดหวังว่าจะเข้ามาเรียนให้สนุก เรียนให้ได้ความรู้โดยไม่กดดันตัวเองแต่ก็ทำไม่ได้ จนบางครั้งก็คิดว่าถ้าไม่กดดันอาจจะทำได้ดีกว่านี้ แต่ท้ายที่สุดก็สามารถเข้าเอกที่หวังได้ ความรู้สึกที่มีมันเอ่อล้นคนแรกที่ขอบคุณคือตัวเอง "เห้ย มึงก็เจ๋งนี่หว่า" ขอบคุณที่ไม่ยอมแพ้ ขอบคุณที่ไม่ละทิ้งความฝัน วิชาเรียนในปี 1 เทอม 1 เนื้อหาค่อนข้างไม่ต่างจากม.ปลายมากนักแต่เน้นในเชิง Active Learning มากขึ้น วิชาก็จะมีพวกภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ประวัติศาสตร์ การเมือง ทักษะชีวิต ซึ่งถ้าตั้งใจน่าจะทำเกรดให้สวยงามได้ไม่ยาก แนะนำสร้างฐานเกรดให้ดีตั้งแต่ปี 1 พอปีสูงๆจะได้ช่วยพยุงเกรดได้บ้าง 5555
-กิจกรรมล่ะเป็นไง
อย่างที่ทุกคนรู้กันว่าปี 1 น่าจะเป็นปีแห่งกิจกรรมทั้งรับน้อง โต๊ะคณะ บลาๆ แต่ต้องบอกว่าทุกกิจกรรมเรามีสทธิเลือกที่จะเข้าร่วมหรือไม่ก็ได้ สำหรับผมก็ไม่ค่อยจะได้ร่วมกิจกรรมอะไรมากนัก บางทีก็คิดว่าเราใช้ชีวิตคุ้มมั้ยวะ 555 ที่ร่วมก็จะมีรับน้องเอกซึ่งก็ดีเพราะทำให้รู้จักเพื่อนและรุ่นพี่เพิ่มขึ้น ได้เห็นพฤติกรรมของเพื่อนที่ต่างออกไปจากในห้องเรียน ได้ใช้เวลาทำกิจกรรมสนุกๆร่วมกัน ได้ยิ้ม ได้หัวเราะ ได้ทำตัวบ้าบอเหมือนกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง 555 ส่วนกิจกรรมนอกเหนือจากนี้ก็มีมากมายเลือกได้ตามอัธยาศัยนอกจากรับน้องก็จะมีชมรมต่างๆ ทั้งเชียร์ลีดเดอร์ วรรณศิลป์ ซิมโฟนี คาราเต้ และอื่นๆอีกมากมายให้เลือก แต่หากใครรู้สึกว่าไม่มีชมรมไหนเหมาะกับเราก็ไม่ต้องกังวลเพราะที่ มธ. ไม่บังคับ จะเข้าร่วมชมรม หรือไม่ก็ได้ ไม่มีผลต่อการจบการศึกษา :D
*สรุปปี 2016 เฟรชแมน ปี 1 ป้ายแดง
เป็นปีที่มีสีสันและมีความทรงจำใหม่ๆที่ควรค่าแก่การจดจำเกิดขึ้นมากมาย ได้เห็นความสำคัญของเวลามากขึ้น ได้พบปะคนใหม่ๆที่มีพฤติกรรมหลากหลาย ได้รู้สึกคิดถึงบ้าน เหงา อยากร้องไห้ คิดถึงเพื่อน คิดถึงแมว แต่ในขณะเดียวกันก็รู้สึกได้พึ่งพาตัวเองมากขึ้นและเริ่มมั่นใจว่าโตไปคงไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงแล้วเพราะอย่างน้อยก็มีตัวเราเองนี่ล่ะคอยช่วยเหลือ และพึ่งพาได้เสมอ ที่สำคัญคือได้ใช้เวลากับตัวเองมากขึ้นจนมองเห็นความสำคัญของตัวเองมากขึ้น ความรู้สึกที่เกิดขึ้นทั้งเสียใจเพราะคะแนนไม่ดี ดีใจเพราะได้เอก สุดท้ายมันก็แค่อารมณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นชั่วขณะหนึ่งแต่สุดท้ายมันก็หายไปทิ้งความว่างเปล่าเอาไว้ให้งงว่าทำไมตอนนั้นถึงต้องรู้สึกอะไรขนาดนั้น 555
ปี 2017 Sophomore
เป็นปีที่เริ่มต้นได้อย่างเจ๋ง เพราะได้เข้าเอกญี่ปุ่นดังหวัง และได้เกรดปี 1 เทอม 1 ในระดับที่เกินความคาดหมายแต่สุดท้ายช่วงกลางปีก่อนขึ้นปี 2 ดันไปพลาดท่าให้กับวิชาหนึ่งของคณะนิติฯ ทำให้เกรดที่เริ่มต้นมาได้ดีมาถึงกับสั่นคลอน ทำให้เริ่มต้นชีวิตปี 2 ด้วยความกดดันว่าจะต้องดึงเกรดให้กลับไปอยู่จุดเดิมให้ได้ ToT วิชาเรียนปี 2 หลังจากเข้าเอกมาได้ก็ได้เรียนวิชาเอกถึง 4 ตัว แต่ละตัวแสบใช่เล่น มีทั้ง
1. วิชาไวยากรณ์ ที่มาพร้อมกับคำศัพท์กว่า 600 คำ คันจิกว่า 300 ตัว แถมยังมีไวยากรณ์มากมายให้จดจำกันไม่หวาดไหว สำหรับผมแล้วถึงเนื้อหาจะอัดแน่นแต่ก็พบว่าอาจารย์สอนสนุก อธิบายเข้าใจง่ายทำให้ชอบวิชานี้ไปโดยปริยาย
2. วิชาวรรณกรรม เรียนวรรณกรรมกันตั้งแต่สมัยนารา ถึงสมัยเมจิ จำชื่อผู้ประพันธ์และผลงานกันวุ่นวายเลยทีเดียว ชื่อคนญี่ปุ่นก็จำยากเสียเหลือเกิน เพราะมีพยัญชนะและเสียงที่น้อยทำให้รู้สึกชื่อเหมือนๆ กันไปหมด แต่ถึงเนื้อหาจะมากแต่อาจารย์มีวิธีการสอนที่สนุก ทำให้วิชาที่ดูจะน่าเบื่อไม่น่าเบื่ออีกต่อไป มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนให้ทำมากมายทั้ง กิจกรรมไพ่คารุตะ แสดงละครจากวรรณกรรมที่ให้ไปอ่าน เป็นต้น ทำให้ได้รับประสบการณ์ที่แปลกใหม่จากวิชานี้ไปได้มาก วรรณกรรมแต่ละเรื่องก็มีความลุ่มลึกแบบญี่ปุน ความมืดมน ความลี้ลับที่เป็นปริศนา จนทำให้ผมเริ่มไปหาหนังสือของนักเขียนญี่ปุ่นมาอ่านเพิ่มขึ้น แต่ถึงอย่างนั้นตอนสอบวิชานี้ค่อนข้างสาหัสมากเช่นกัน T_T
3. วิชาสังคมวัฒนธรรม เรียนตั้งแต่สมัยโจมน-สมัยเฮเซ ไปจนถึงปัญหาสังคมในปัจจุบันของญี่ปุ่น เช่น ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำตั้งแต่ปี 90 เป็นต้นมา เป็นวิชาที่มีเนื้อหามากเช่นเดียวกับวิชาวรรณกรรม แต่เป็นวิชาที่น่าสนใจเพราะทำให้เข้าใจพื้นเพของสังคม และคนญี่ปุ่นมากขึ้น ช่วยลดอคิติของความแตกต่างทางวัฒนธรรมลงได้ เป็นวิชาที่สอนให้รู้จักญี่ปุ่นให้ลึกยิ่งขึ้น ถึงเนื้อหาจะดูหนักแต่ก็มีกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้สัมผัสกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นด้วยตนเองเช่น กิจกรรมปั้นโอะนิงิริ กิจกรรมพิธีชงชาเป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้ทำให้ซึมซับความเป็นญี่ปุ่นได้ดียิ่งขึ้นไปจนถึงระดับจิตวิญญาณและแนวคิด ปรัชญาต่างๆ ของคนญี่ปุ่นกันเลยทีเดียว แน่นอนว่าข้อสอบก็ละเอียดเช่นกัน แหะๆ :)
4. วิชาฟัง-พูด เป็นวิชาเอกที่ชอบที่สุดสำหรับปี 2 เทอม 1 ไวยากรณ์ที่เรียนมาจากวิชาไวยากรณ์จะนำไปใช้ได้จริงในสถานการณ์ใดบ้าง? จะได้รู้ในวิชานี้นี่ล่ะ 555 วิชานี้จะช่วยให้การพูดภาษาญี่ปุ่นเป็นธรรมชาติและดูเป็นคนญี่ปุ่นมากขึ้น สำหรับการพูดก็สนุกมากได้พูดตั้งแต่แนะนำตัวไปจนถึงบรรยายความทรงจำที่ชอบของตัวเองเลยทีเดียว แต่สำหรับการฟังนั้นค่อนข้างยากเนื่องจากภาษาญี่ป่นพูดกันเร็ววววววววววโคตร จะรีบไปไหนครับพี่ 555 ทำให้ในช่วงแรกนั้นอาจมีท้อแท้บ้างแต่พอเริ่มจับจุดได้ก็รู้สึกพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น อาจารย์ก็คอยให้ความเชื่อเหลือเต็มที่เสมอ เป็นวิชาที่สร้างความทรงจำที่ดี และทำให้มั่นใจในการใช้ภาษาญี่ปุ่นกับคนญี่ปุ่นในชีวิตประจำวันมากขึ้น
3. วิชาสังคมวัฒนธรรม เรียนตั้งแต่สมัยโจมน-สมัยเฮเซ ไปจนถึงปัญหาสังคมในปัจจุบันของญี่ปุ่น เช่น ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำตั้งแต่ปี 90 เป็นต้นมา เป็นวิชาที่มีเนื้อหามากเช่นเดียวกับวิชาวรรณกรรม แต่เป็นวิชาที่น่าสนใจเพราะทำให้เข้าใจพื้นเพของสังคม และคนญี่ปุ่นมากขึ้น ช่วยลดอคิติของความแตกต่างทางวัฒนธรรมลงได้ เป็นวิชาที่สอนให้รู้จักญี่ปุ่นให้ลึกยิ่งขึ้น ถึงเนื้อหาจะดูหนักแต่ก็มีกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้สัมผัสกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นด้วยตนเองเช่น กิจกรรมปั้นโอะนิงิริ กิจกรรมพิธีชงชาเป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้ทำให้ซึมซับความเป็นญี่ปุ่นได้ดียิ่งขึ้นไปจนถึงระดับจิตวิญญาณและแนวคิด ปรัชญาต่างๆ ของคนญี่ปุ่นกันเลยทีเดียว แน่นอนว่าข้อสอบก็ละเอียดเช่นกัน แหะๆ :)
4. วิชาฟัง-พูด เป็นวิชาเอกที่ชอบที่สุดสำหรับปี 2 เทอม 1 ไวยากรณ์ที่เรียนมาจากวิชาไวยากรณ์จะนำไปใช้ได้จริงในสถานการณ์ใดบ้าง? จะได้รู้ในวิชานี้นี่ล่ะ 555 วิชานี้จะช่วยให้การพูดภาษาญี่ปุ่นเป็นธรรมชาติและดูเป็นคนญี่ปุ่นมากขึ้น สำหรับการพูดก็สนุกมากได้พูดตั้งแต่แนะนำตัวไปจนถึงบรรยายความทรงจำที่ชอบของตัวเองเลยทีเดียว แต่สำหรับการฟังนั้นค่อนข้างยากเนื่องจากภาษาญี่ป่นพูดกันเร็ววววววววววโคตร จะรีบไปไหนครับพี่ 555 ทำให้ในช่วงแรกนั้นอาจมีท้อแท้บ้างแต่พอเริ่มจับจุดได้ก็รู้สึกพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น อาจารย์ก็คอยให้ความเชื่อเหลือเต็มที่เสมอ เป็นวิชาที่สร้างความทรงจำที่ดี และทำให้มั่นใจในการใช้ภาษาญี่ปุ่นกับคนญี่ปุ่นในชีวิตประจำวันมากขึ้น
นอกจากวิชาเอกก็ได้ลงวิชาอื่นๆ อีก 3 ตัวทั้งวิชาการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ การเขียนย่อหน้าภาษาอังกฤษ และภาพยนตร์ปริทรรศน์ ในตอนแรกตั้งใจจะเรียนภาพยนตร์เป็นวิชาโทแต่ก็เปลี่ยนใจเพราะเวลาชนกับวิชาเอก และตัวสูงๆคงจะไม่ไหวเลยตัดสินใจว่าจะโทอังกฤษแทน สำหรับวิชาการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ (วิชานี้สามารถ Exempt ได้โดยการสอบ TU-GET ให้ได้คะแนนส่วนการอ่าน 350 คะแนนขึ้นไปจาก 500 คะแนน) จะมีหนังสือนิยายนอกเวลาให้ไปอ่าน 1 เล่ม เรื่อง Crime and Punishment ของ Fyodor Dostoyevsky นักเขียนชาวรัสเซียชื่อดัง เป็นนิยายที่สนุกและบีบคั้นอารมณ์มากถึงชื่อตัวละครจะจำยากเพราะเป็นภาษารัสเซียก็ตาม เสียดายที่เพิ่งมาอ่านจริงจังตอนจะสอบ แหะๆ (ไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง) ส่วนเนื้อหาการเรียนอาจจะง่วงนิดๆ เพราะมีแต่บทความมาให้อ่านมีทั้งเรื่องแนววิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ แพทยศาสตร์ ไปจนถึงภาษาศาสตร์ แต่ก็เป็นวิชาที่ทำให้อ่านภาษาอังกฤษได้เข้าใจถึงแก่นที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อได้ดีขึ้น ส่วนวิชาการเขียนย่อหน้าภาษาอังกฤษ นั้นสนุกมากแม้จะมีหัวข้อกำหนดมาให้เขียนก็ตาม เป็นวิชาที่ได้ปลดปล่อยความคิดของตัวเองออกมาได้อย่างเต็มที่ เขียนยังไงก็ได้ให้ผู้อ่านเชื่อในสิ่งที่เราเขียนโดยไม่ลืมว่าต้องถูกหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ และต้องมีความเป็นธรรมชาติของภาษาใกล้เคียงกับเจ้าของภาษา ถึงจะดูจุกจิกแต่ก็สนุกมากจริงๆ เขียน เขียน เขียน และเขียนเท่านั้นสำหรับวิชานี้ 5555 สุดท้ายคือวิชาภาพยนตร์ปริทรรศน์ เป็นวิชาที่ชิลที่สุดแล้วสำหรับเทอมนี้ ไม่ค่อยมีงานให้ทำเป็นคะแนนเก็บมากนัก คะแนนส่วนใหญ่มาจากการสอบ! แต่ช่วยเปิดโลกในการดูหนังมากขึ้นจริงๆ ได้ดูหนังมากมายหลายแนว ในบางครั้งก็มีการเชิญผู้กำกับจริงๆ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาให้ผู้เรียนได้พูดคุยสร้างแรงบันดาลใจ เพราะหนังไม่ได้มีแต่ความบันเทิงอย่างเดียว สัญลักษณ์ในหนังมีอะไร หนังอินดี้คืออะไร จะทำหนังสักเรื่องต้องทำยังไงบ้าง จะเขียนบทหนังใช้หลักอะไรคือสิ่งที่จะได้เรียนจากวิชานี้ *o*
*สรุปปี 2017 ชีวิตปีสอง เทอมแรก
เป็นปีที่เริ่มเรียนแบบมหาวิทยาลัยจริงๆจังๆ จนทำให้รู้ว่าจริงๆ แล้วเราอยากเรียนเอกนี้จริงไหม บริหารเวลากันจ้าล่ะหวั่นเพราะเริ่มทำงานพิเศษด้วย แต่ก็สนุกและได้ประสบการณ์ล้ำค่ามากมาย ได้เงินด้วย555 รู้สึกโตขึ้นไปอีกระดับ ได้อัปเลเวลแล้วนั่นเอง ได้นำสิ่งที่เรียนไปใช้เป็นรูปธรรมมากขึ้นจนทำให้มีกำลังใจและมองเห็นทางในการเรียนวิชาเอกที่ตั้งใจต่อไป!
ถึงจะเรียนหนักขึ้นจากปี 1 จนน่าตกใจแต่ก็ได้เห็นความกระตือรือร้นของตัวเองมากขึ้น ได้เห็นตัวเองสนุกกับวิชาที่ได้เรียน พอเห็นแบบนี้ไม่ว่าผลการเรียนจะออกมาเป็นยังไงก็คงไม่เสียใจ แต่ก็จะพยายามต่อไป ปี 1 เทอม 2 ทำไว้แสบจนไม่น่าให้อภัย 5555
สำหรับทุกท่านที่หลงเข้ามาแล้วกำลังจะขึ้นมหาวิทยาลัยหรือเรียนอยู่มหาวิทยาลัยแล้วอยากจะบอกว่า ชีวิตมหาวิทยาลัยคนที่มีความสำคัญกับเรามากจริงๆ ว่าจะรอดหรือไม่ก็คือตัวเอง ความเปลี่ยนแปลงมากมายที่ถาโถมในบางครั้งเราอาจจะตั้งตัวไม่ทัน ทั้งคะแนน การขอโควตาวิชา ความกดดันจากครอบครัว หรือเพื่อน แต่ถ้าตั้งหลักได้ไวและให้กำลังใจตัวเองมากๆ รวมไปถึงการได้พูดคุยแบ่งปันทุกข์สุขกับเพื่อนหรือครอบครัวจะช่วยเยียวยาได้ดียิ่งขึ้น :)
ในที่สุดก็เขียนจบแล้วหลังจากหายไปนาน สำหรับใครที่อ่านมาถึงตรงนี้ก็ขอบคุณมากอยากจะมอบรางวัลให้เลย 555 สำหรับเอนทรีหน้าถ้าผ่าน JLPT จะมาเขียน ดังนั้นแล้วอวยพรให้ผมกันด้วยนะครับ 555 สำหรับวันนี้ สวัสดีปีใหม่ทุกคนครับ ขอให้เริ่มต้นปี 2018 ด้วยความราบรื่น มีความสุขสมหวัง และสุขภาพแข็งแรงกันทุกคนครับ!
เมื่อไหร่จะมาเขียนอีกครับผม
ReplyDeleteเร็ว ๆ นี้จะมาอัปเดตต่อแน่นอนครับ ตอนนี้คิดว่าใจพร้อมแล้ว
Deleteติดตามบล็อกของท่านอยู่เหมือนกันนะครับ :)